Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดวงกมล กิ่งจำปา
dc.date.accessioned2014-01-28T08:09:18Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:51:14Z-
dc.date.available2014-01-28T08:09:18Z
dc.date.available2020-09-24T04:51:14Z-
dc.date.issued2555
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1246-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการใช้เทคโนโลยี ทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำแนกตาม ประสบการณ์การบริหารของผู้บริหารและสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ผู้บริหาร จำนวน 48 คน ครูจำนวน 285 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1992) และการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ได้จำนวน 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) ที่ใช้กับผู้บริหาร / รองผู้บริหารสถานศึกษาและครู โดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การบริหารต่างกัน มีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครูโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการวัดและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์ปัญหาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู พบว่า ครูและสถานศึกษาส่วนใหญ่มีจุดประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษามากที่สุดคือ เพื่อการเรียนการสอน ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู มากที่สุดคือ ปัญหาการใช้วิธีการทางระบบ (บทเรียนสำเร็จรูป, ชุดการเรียนการสอน, คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและ การใช้สื่อผสม) เทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้มากที่สุดของครูคือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์การสอน ประเภทของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เป็นปัญหาในการใช้งานของครูมากที่สุดคือ ประเภทวิธีการทางระบบ ประเภทของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ต้องการใช้งานของครูมากที่สุดคือ ประเภทวัสดุการสอนโรงเรียนจัดให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการ ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาโดยเฉพาะ มากที่สุดคือ ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง ผู้บริหารสถานศึกษามีนโยบายหรือให้การสนับสนุนและส่งเสริมความสามารถการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาของครู และแหล่งความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ ๆ มากที่สุดคือ จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองen_US
dc.description.abstractThis is a quantitative research for studying the role of school administrators to promote educational technology in secondary school, Pathumthani Education, Service Area 2. The objective is to study and compare the role of school administrators using technology for education, Pathumthani Education, Service Area 2, classified by the experience of management administrators and a sample group. The sample group in this research is administrators, assistant administrators, and the teachers of secondary schools, Pathumthani Education, Service Area 2. There were a total of 333 people: 48 people were administrators and assistant administrators and 285 people were teachers. This group size is based upon the Krejcie and Morgan Method and Random Sampling. The instrument used for collecting the data was a questionnaire used to investigate the 3 sample groups divided into 3 parts. Results: 1) The role of school administrators in promoting “using technology for education” was at a high level. When each item was considered according to sub-factors, it was revealed that all aspects were in a high level. 2) The school administrators and the teachers have different opinions. The statistical significance was at the level of .05 in the role of school administrators to promote using technology for education of the teachers in all aspects and sub-factors. 3) The school administrators have different experiences in management but promoting use of technology for education was not different except the measurement and evaluation were different with the statistical significance at the level of .05. The problems of using educational technology by the teacher were found that most of the teachers proposed to use technology for education in studying and teaching. However, most of the problems associated with using educational technology by the teacher is the way in how to use the system (completed school books, interactive school kits, computers for education, and Multi-Media). The school has provided the people for taking responsibility of the overall service involving educational technology but not having the person who takes responsibility directly. The school administrator has the policy and support and promotes the ability of using educational technology by the teacher and most sources of knowledge and understanding in using new educational technology from self-study or self-researches.en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. เทคโนโลยีการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียนen_US
dc.titleบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2en_US
dc.title.alternativeThe role of school administrators to promote educational technology of Pathumthani education service area 2en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
131766.pdfบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมงานเทคโนโลยีทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 23.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.