Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1435
Title: โครงการพัฒนาปรับปรุงระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับบ้านพักฉุกเฉิน
Other Titles: Development Prefabricated System for Emergency Home
Authors: สุธี ปิยะพิพัฒน์
ศุภสิทธิ พงศ์ศิวะสถิตย์
สมศักดิ์ คำปลิว
Keywords: โครงการก่อสร้าง
การก่อสร้าง
บ้านพักฉุกเฉิน
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: โครงการพัฒนาปรับปรุงระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับ สำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติ สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการตอบสนองและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยไม่ว่าจะเกิดในภูมิภาคใดก็ตาม โดนโครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาออกแบบส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารบ้านแถวชั้นเดียวจำนวน 4 หน่วย ที่สร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปในระบบก่อสร้างแบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปแบบถอดสำเร็จ(Knock Down System) โดยจัดทำแบบรูปและรายการขั้นตอนการติดตั้ง รวมทั้งราคาต่อหน่วยและระยะเวลาในการติดตั้ง ภายใต้คำแนะนำของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากผลดารศึกษาได้แบบรูปและรายการตลอดจนรายละเอียดของขั้นตอนการติดตั้งโครงสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปบ้านแถวชั้นเดียวสำหรับบ้านพักฉุกเฉินชั่วคราวกรณีเกิดภัยพิบัติ ขนาด 4x16 ตารางเมตร โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและราคาก่อสร้างต่ำที่สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลา 3 วันระบบโครงสร้างข้อแข็ง (Frame Structures) ซึ่งต้นทุนทั้งค่าวัสดุและค่าแรงงานประกอบต่อหน่วย ราคาประมาณ 91,720 บาทรวมทั้งพบว่าสมารถที่จะทำการแยกหน่วย (Separate part of Structure) ได้ จึงเหมาะที่จะทำไปใช้ในท้องที่ต่างๆ กรณีเกิดภัยพิบัติได้เป็นอย่างดีใช้จุดต่อยึดชิ้นส่วนด้วยสลักเกลียว (Bolt) จึงทำให้การถอดประกอบและรื้อถอนทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยการขนส่งสามารถทำได้โดยการใช้รถบรรทุกชนิด 6 ล้อขนาดบรรทุกน้ำหนัก 10 ตัน สามารถขนชิ้นส่วนระบบสำเร็จรูปได้จำนวน 2 หน่วยต่อ 1 เที่ยว อายุการใช้งานในสภาวะการใช้งานปกติมีการบำรุงดูแลรักษาสภาพของชิ้นส่วนเป็นอย่างดีได้ประมาณ 3-5 ครั้ง ซึ่งหากคิดค้นต้นทุนค่าก่อสร้างต่อหน่วยต่ออายุการใช้งานที่คุ้มทุนแล้ว จะมีราคาค่าก่อสร้างเฉลี่ยที่ 30,573.41 บาทต่อหน่วยเท่านั้นตลอดจนทำการทดสอบรอยต่อรับแรงดึงของรอยเชื่อม พบว่าค่ากำลังดึงประลัยของรอยต่อจากการเชื่อมมีค่ามากกว่า 3,217 กิโลกรัม โดยมีค่าความปลอดภัยของการเชื่อมมากกว่า 2.23 เท่า ตามข้อกำหนดอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (AISC/ASD/AWS) และมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
The project of the development of knockdown system for temporary emergency house was carried out to develop construction system and to design rapidly constructed knock-down house to relieve trouble of the disaster victims in any region. The design, blueprint with details, installation procedures and controlled unit price and construction period of 4-unit, one storey town house were done on the advice of the National Housing Authority, The Ministry of Social Development and Human Security. According to the study, the 4 x 16 square metre knock-down, emergency house made of local materials could be built by local or semi-skilled labour within 3 days by following installation procedures. The structure of the house was bolt. fasten and separable frame structures. The unit cost of materials and labour were about 91,720 baht which was acceptable. The transportation could be done by 6-wheel, to-ton truck with 2 units or by l8-wheel trailer with 4 units. The unit cost throughout break even period with 3-5 maintenance was 30,573.41 baht. Yield point of fillet weld joint of the structure was more than 3,217 kilogram with safety factor more than 2.23 corresponding to AISC/ASD/AWS and The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King's Patronage standard
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2550
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1435
ISSN: 1685-5280
Appears in Collections:บทความ (Article - EN)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Y.05 Vol.10 p.63-74 2550.pdfโครงการพัฒนาปรับปรุงระบบการก่อสร้างชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับบ้านพักฉุกเฉิน2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.