Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1446
Title: การประยุกต์สารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อทำแผนที่ฟลูออไรด์จัดหวัดตาก
Other Titles: Application of Geographic Information System for Fluoride Mapping in Tak Province, Thailand
Authors: นฤมล กูลศิริศรีตระกูล
Keywords: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
แผนที่ฟลูออไรด์
จังหวัดตาก
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
Series/Report no.: วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี;ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม - เมษายน 2550
Abstract: การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำแผนที่ฟลูออไรด์จังหวัดตาก โดยใช้ข้อมูลปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ มาสร้างฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับฟลูออไรด์ปริมาณสูงในจังหวัดตาก ในภาพรวมและรายอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ Arc View GIS Version 3.2 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล Microsoft Excel 97 โปรแกรมวิเคราะห์ด้านสถิติ SPSS Version 11.0 และ เครื่องมือตรวจวัดค่าปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ ตามวิธี SPANS ในการศึกษานี้ ได้แบ่ง ระดับความเสี่ยงต่อการได้รับฟลูออไรด์ เป็น 5 ระดับ ตามเกณฑ์ประเมินปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคของศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และเกณฑ์มากกว่า 0.60 ppm. หรือ ความเสี่ยงระดับ 4 ขึ้นไป ที่มักทำให้เกิดภาวะฟันตกกระได้ทั้งในระดับน่าสงสัย ระดับน้อย และระดับรุนแรงแล้ว ค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ทั้งจังหวัดมีค่าน้อยกว่า 0.60 ppm. พิจารณารายอำเภอพบว่า อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก มีค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคมากกว่า 0.60 ppm. พิจารณาจากค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคตามแหล่งน้ำ พบว่า น้ำบ่อและน้ำบาดาลมีค่าเฉลี่ยฟลูออไรด์มากกว่า 0.6 ppm. เมื่อกำหนดตำแหน่งพื้นที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคระดับ 4 (0.61 -1.20 ppm.) และ ระดับ 5 (1.20 ppm.) พบว่า อำเภอเมื่อตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2 และ 4ตำแหน่ง อำเภอสามเงามีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2 ตำแหน่งเท่ากันส่วนอำเภอบ้านตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2และ 1 ตำแหน่ง ส่วนอำเภออื่นๆนั้นไม่มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ทั้งระดับ 4 และ 5 สำหรับในภาพรวมจังหวัดตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 6 และ 7 ตำแหน่ง ตามลำดับ
This study aims to apply Geographic Information System for Fluoride mapping In Tak Province. In the study Natural fluoride concentration in water sources were spatially analyzed to depict spatial distribution. The main tools used in analysis were Arcview GIS version 3.2a, Microsoft Excel 97, SPSS version 11.0 and the SPANOS. A total of 374 spatial water samples were analyzed and classified in term of Fluoride concentration into 5 groups based on Inter-country Centre for Oral Health (ICOH) Chiang Mai, Thailand: fluoride free (~0.1); low fluoride (>0.1-0.3); optimal (>0.30.6); higher optimal (>0.6-0.7); and excess (>0.7) mg/I. The study area was also classified into 5 groups for Fluoride intake risk levels: 1, 2, 3, 4, and 5. The results showed that water Fluoride concentration in Amphor Samngao and Amphor Bantak was over the optimal level, which caused Mottled enamel or Dental Fluorisis, (fluoride concentration > 0.6 mg/I). Well and underground water had fluoride concentration over than 0.6 mg/I. The excess and higher optimal in fluoride intake (level 5 and level 4) were found at Amphor Muangtak 4 and 2 locations, respectively, 2 and 2 locations in Amphor Samngao, and 2 and 2 locations in Amphor Bantak while nothing was found in others.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1446
ISSN: 1686-8420
Appears in Collections:บทความ (Article)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Y.10 Vol.02-10.pdfApplication of Geographic Information System for Fluoride Mapping in Tak Province, Thailand3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.