Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/144
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์
dc.contributor.authorอรทัย สารกุล
dc.date.accessioned2011-10-06T04:34:34Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:58:36Z-
dc.date.available2011-10-06T04:34:34Z
dc.date.available2020-09-24T04:58:36Z-
dc.date.issued2548
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/144-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยมุสลิม มุมมองด้านสุขภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหารของคนมุสลิมในปัจจุบัน ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนมุสลิมกับปัญหาสุขภาพและถ่ายทอดข้อมูลด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณ เลือกศึกษาประชากรมุสลิมในชุมชนมุสลิม ตำบลท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1. ศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหารของคนมุสลิม ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนมุสลิมกับปัญหาสุขภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 3 การถ่ายทอดข้อมูลด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โดยใช้การอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดความรู้ ผลการศึกษาแบบแผนการบริโภคอาหารของคนมุสลิมพบว่า อาหารของชุมชน มุสลิมที่นิยมนำมาบริโภคในชีวิตประจำวัน แต่เดิมชาวไทยมุสลิมจะประกอบอาหารตามแบบที่ตนถนัดและปรุงตามรสชาติที่ต้องการด้วยตนเอง โดยกรรมวิธีการปรุงและการบริโภคอาหารจะต้องถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนมุสลิมกับปัญหาสุขภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติการรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยคือใช้น้ำมันในการประกอบอาหารสม่ำเสมอสูงถึงร้อยละ 84 ใช้เกลือหรือน้ำปลาเติมในอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วสม่ำเสมอ ร้อยละ 47 พฤติกรรมการบริโภคอหารที่อาจมีผลทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้คือ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มเช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็มและอาหารที่มีไขมันสูงเช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลาหมึกหอยนางรม เนื่องจากมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.5 บริโภคอาหารที่มีรสเค็มเป็นบางครั้งและร้อยละ 59 บริโภคอาหารที่มีอาหารที่มีไขมันสูงเป็นบางครั้ง การถ่ายทอดข้อมูลด้านโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ โดยการจัดการอบรม และจัดนิทรรศการด้านสุขภาพโดยเน้นการใช้ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้ที่ถูกต้องในการบิโภคอาหาร การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพตนเอง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม ผลการศึกษาพบว่าการอบรมทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และผลการศึกษาความพึงพอใจของการเข้ารับการอบรม พบว่าโดยภาพรวมผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการอบรม เมื่อพิจารณาแต่ละหัวข้อ พบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการอบรมอยู่ในระดับมากทุกรายการen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectการบริโภคอาหารไทยมุสลิม, วัฒนธรรมอาหารมุสลิม, อาหารชาวไทยมุสลิมen_US
dc.titleวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยมุสลิม : มุมมองด้านสุขภาพen_US
dc.title.alternativeThe culture of food consumption patterns among Thai Muslim ; the viewpoint of healthen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - TMC)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
3.Abstract.pdfวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวไทยมุสลิม : มุมมองด้านสุขภาพ329.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.