Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1453
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิษณุ วิชยโยธิน
dc.date.accessioned2014-03-10T07:13:53Z
dc.date.accessioned2020-09-24T07:35:58Z-
dc.date.available2014-03-10T07:13:53Z
dc.date.available2020-09-24T07:35:58Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.issn1905-8446
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1453-
dc.descriptionวารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2556en_US
dc.description.abstractแนวทางการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานและต้นทุนเพื่อการแข่งขันไปเป็นการใช้ขีดความสามารถในการพัฒนาไปสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy/ Society) (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2545: 1) การให้ความสำคัญกับความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของประเทศไทยจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าอะไรคือสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดและสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, มปป: 9) จากแนวคิดของ Michael E. Porter (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, มปป: 9) สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดและสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริงคือ “ผลิตภาพหรือประสิทธิภาพการผลิต” ซึ่งวัดได้จากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการที่ผลิตได้เปรียบเทียบกับปริมาณของปัจจัยที่ใช้สำหรับการผลิตหนึ่งหน่วย ซึ่งปัจจัยการผลิตจะประกอบไปด้วย คน เงิน วัตถุดิบ ฯลฯ ซึ่งปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งก็คือความสามารถของคน ที่ผ่านมาระบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจขบเคลื่อนโดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การลงทุนจากต่างประเทศ การแข่งขันด้านราคาของสินค้าและบริการ ต้นทุนของปัจจัยการผลิต และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งการแข่งขันโดยเน้นปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวทำให้ความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติในภาพรวมในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 27 ในขณะที่ประเทศจีน สิงคโปร์ ไต้หวัน มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกันได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าไทยทั้งสิ้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2551: 10-11)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectประเมินความต้องการen_US
dc.subjectสมรรถนะen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยen_US
dc.titleประเมินความต้องการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในสายการผลิตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
06-ประเมินความต้องการพัฒนาสมรรถนะ....pdfประเมินความต้องการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในสายการผลิตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.