Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจารุวงศ์ เรืองสุวรรณ, บุญทัน ดอกไธสง, โอภาส รันบุรี และ สะอาด บรรเจิดฤทธิ์
dc.date.accessioned2014-03-10T07:42:55Z
dc.date.accessioned2020-09-24T07:36:02Z-
dc.date.available2014-03-10T07:42:55Z
dc.date.available2020-09-24T07:36:02Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.issn1905-8446
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1457-
dc.descriptionวารสารบริหารธุรกิจ ราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัย ดังนี้ 1) นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียว 2) การนำนโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียวไปปฏิบัติ 3) วิธีการและรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียว การวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งรูปแบบการวิจัยออกเป็น 2 อย่าง คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน 27 ชุมชน ในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 150,286 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน ซึ่งคำนวณได้จากการเปิดตารางของ เครซี่ มอแกน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร ได้แก่ บุคคลที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมจำนวนทั้งสิ้น 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยการแปลความ การตีความ และการวิเคราะห์ความ ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวจะต้องมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันเสมอระหว่างนโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลและนโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครโดยนโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในเชิงกว้าง มองสภาพปัญหาในลักษณะบูรณาการมากกว่าที่จะมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในขณะที่นโยบายสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านพื้นที่สีเขียวได้ดีกว่า 2. การนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวไปปฏิบัติ ต้องกำหนดภารกิจและการมอบหมายงานให้กับฝ่ายที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน พร้อมกันนั้น ผู้บริหารเขตต้องกำชับดูแลเอาใส่ ให้การสนับสนุนทรัพยากรการดำเนินการให้มีความเหมาะสม เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกรดับ และปรับทศนคติของบุคลากรภายในหน่วยงานให้เกิดความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท เสียสละเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพื้นที่สีเขียวให้บรรลุเป้าหมายเป็นไปตามความต้องการของประชาชน 3. วิธีการและรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว เป็นวิธีการสำคัญของสำนักงานเขตบางกะปิที่ใช้ในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่สีเขียวภายในเขต โดยได้กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการในลักษณะพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่สีเขียวนันทนาการ พื้นที่สีเขียวส่วนบุคคล พื้นที่สีเขียวสาธารณูปการ พื้นที่สีเขียวสถาบัน และพื้นที่สีเขียว ศาสนสถาน เป็นต้น พื้นที่สีเขียวเหล่านี้จะมีรูปแบบการพัฒนาแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่สีเขียวเหล่านี้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งสันทนาการและแหล่งศิลปะการผังเมืองen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectบริหารจดการสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectพื้นที่สีเขียวen_US
dc.subjectManagement on the environmenten_US
dc.subjectGreenery Areaen_US
dc.titleผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวไปปฏิบัติในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
10-ผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว....pdfผลสัมฤทธิ์การนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวไปปฏิบัติในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.