Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1470
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มณจิรา ลัทธปรีชา | |
dc.date.accessioned | 2014-04-02T03:39:36Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:46:30Z | - |
dc.date.available | 2014-04-02T03:39:36Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:46:30Z | - |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1470 | - |
dc.description.abstract | ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการเตรียมอนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลด้วยกลไก รีเวอร์สซิเบิล เชน ทรานสเฟอร์แคตตาลิสพอลิเมอไรเซชันในกระบวนการสังเคราะห์แบบตกตะกอนเป็นครั้งแรกเพื่อเปรียบเทียบกับการสังเคราะห์แบบตกตะกอนที่ใช้กลไกอนุมูลอิสระแบบดั้งเดิม โดยใช้วิตามินอีหรือแอลฟ่า-โทโคฟีรอลเป็นสารแม่แบบจาลอง ขณะที่ใช้กรดเมทาคริลิก ไดไวนิลเบนซีน ไอโอโดฟอร์ม เจอร์มาเนียม (IV) ไอโอไดด์และอะซิโทไนไทรล์ เป็นฟังชันนอล-มอนอเมอร์ สารเชื่อมร่างแห สารตัวควบคุม ตัวเร่งปฏิกิริยา และวัฏภาคต่อเนื่อง ตามลาดับ ทาการสังเคราะห์ภายใต้ระบบสุญญากาศ ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง โดยใช้เบนโซอิลเปอร์-ออกไซด์เป็นตัวเริ่มปฏิกิริยา อนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลที่ได้ มีลักษณะเป็นทรงกลมและมีการกระจายตัวของขนาดที่แคบ การจับสารของอนุภาคจะทดสอบด้วยเทคนิคโครมาโท-กราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพในการจับสารลดลงเมื่อมวลโมเลกุลเป้าหมายของอนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่มวลโมเลกุลเป้าหมายที่ต่าที่สุด (54,000 กรัมต่อโมล) ที่ยังสามารถเกิดเป็นอนุภาคได้ในกระบวนการสังเคราะห์แบบตกตะกอน จะมีประสิทธิภาพในการจับสารสูงที่สุด (9.59 มิลลิกรัม-วิตามินอี/กรัม-พอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุล) ซึ่งมีความจุในการจับสารสูงสุดที่ 21.53 ไมโครโมลต่อกรัม และค่าคงที่ในแตกตัวที่ 138.89 ไมโครโมลต่อลิตร นอกจากนี้ อนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลที่เตรียมได้มีประสิทธิภาพในการจับสารสูงกว่าอนุภาคพอลิเมอร์ที่เตรียมโดยเทคนิคการสังเคราะห์อนุมูลอิสระแบบดั้งเดิม (4.56 มิลลิกรัม-วิตามินอี/กรัม-พอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุล) มาก ในขณะที่ความจาเพาะเจาะจงของอนุภาคพอลิเมอร์ที่เตรียมได้ต่อวิตามินอีค่อนข้างสูงเช่นกัน แม้ว่าวิตามินอีจะอยู่ในตัวอย่างที่มีวิตามินเอ ซึ่งมีโครงสร้างใกล้เคียงกับวิตามินอีปนอยู่ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าสามารถเตรียมอนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลของวิตามินอีโดยกลไกรีเวอร์สซิเบิลเชนทรานสเฟอร์แคตาลิสในกระบวนการสังเคราะห์แบบตกตะกอนได้เป็นครั้งแรก ซึ่งมีค่าความจาเพาะเจาะจง และประสิทธิภาพในการจับสารสูงกว่าการสังเคราะห์แบบดั้งเดิมมาก เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ง่ายไม่ต้องเตรียมอนุภาคหลังจากสังเคราะห์ซึ่งทาให้สะดวกในการนาไปเตรียมอนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลของสารอื่น ๆ ได้ | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีนวัตกรรม | en_US |
dc.subject | วิตามินอี | en_US |
dc.subject | พอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุล | en_US |
dc.subject | กระบวนการสังเคราะห์แบบตกตะกอน | en_US |
dc.subject | พอลิเมอร์ -- วิจัย | en_US |
dc.title | การเตรียมอนุภาคพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลสำหรับแยกวิตามินอี | en_US |
dc.title.alternative | Preparation of molecularly imprinted polymer particles for separation of vitamin e | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PREPARATION OF MOLECULARLY IMPRINTED POLYMER....pdf | Preparation of molecularly imprinted polymer particles for separation of vitamin e | 8.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.