Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1471
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวัชรพงษ์ เตวิยะ
dc.date.accessioned2014-04-02T04:37:50Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:46:47Z-
dc.date.available2014-04-02T04:37:50Z
dc.date.available2020-09-24T04:46:47Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1471-
dc.description.abstractในงานวิจัยนี้ ได้ทำการศึกษาการเตรียมแผ่นฟิล์มคอมพอสิทของพอลิแอลแลคติกแอซิดที่มีสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์สำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารโดยวิธีการระเหยตัวทำละลาย โดยใช้เซลลูโลสเป็นพอลิเมอร์ผสมเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกล ในขั้นตอนแรก ได้ทำการเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิแอลแลคติกแอซิดผสมอนุภาคนาโนเงินที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 56.2 นาโนเมตร โดยใช้อิมัลเจน 150 และกลีเซอรอลเป็นสารลดแรงตึงผิว และสารเพิ่มความยืดหยุ่นตามลำดับ พบว่าค่าความแข็งแรงเชิงเส้นของแผ่นฟิล์มที่ได้เป็น 207.57 เมกกะปาสคาล และค่าการยืดตัว ณ จุดขาดเป็น 62.18 % แผ่นฟิล์มที่ได้นี้มีความแข็งแรงต่ำสำหรับการนำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงได้ทำการปรับปรุงสมบัติเชิงกลโดยการผสมกับเซลลูโลสซึ่งเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมพลาสติก โดยขั้นตอนที่สองได้ทำการเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิแอลแลคติกแอซิดคอมพอสิทผสมอนุภาคนาโนเงินโดยใช้เซลลูโลส 3 ชนิด คือ เอทิลเซลลูโลส คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเยื่อกระดาษและคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากแบคทีเรีย โดยศึกษาปริมาณเซลลูโลสที่เหมาะสมที่ทำให้แผ่นฟิล์มพอลิเมอร์คอมพอสิทที่ผสมอนุภาคนาโนเงินมีค่าความแข็งแรงเชิงเส้นสูงที่สุด พบว่าเมื่อใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสทั้งที่เตรียมได้จากเยื่อกระดาษและแบคทีเรียทำให้แผ่นฟิล์มพอลิเมอร์คอมพอสิทมีความแข็งแรงมากกว่าการใช้เอทิลเซลลูโลส โดยค่าความแข็งแรงเชิงเส้นและค่าการยืดตัว ณ จุดขาดเป็น 698.60 เมกกะปาสคาล และ44.30 % ตามลำดับ ในกรณีของการใช้คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่เตรียมจากเยื่อกระดาษ ในทำนองเดียวกัน การผสมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากแบคทีเรียทำให้มีค่าความแข็งแรงเชิงเส้นเป็น 669.40 เมกกะปาสคาล และค่าการยืดตัว ณ จุดขาด 46.12 % ซึ่งน่าจะเนื่องจากเกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของพอลิแอลแลคติกแอซิดกับคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ทำให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น สุดท้ายทำการทดสอบสมบัติการต้านเชื้อแบคทีเรียสองชนิด คือ Escherichia coil และ Stapphylococcus aureus พบว่าแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์คอมพอสิทของพอลิแอลแลคติกแอซิด/อนุภาคนาโนเงินที่ผสมคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสทั้งจากเยื่อกระดาษและแบคทีเรียสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีโซนการยับยั้งเชื้อประมาณ 2.0 มิลลิเมตร ดังนั้น ในงานวิจัยนี้สามารถเตรียมแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์คอมพอสิทของพอลิแอลแลคติกแอซิด/เซลลูโลส/อนุภาคนาโนเงินที่มีความแข็งแรงเชิงเส้นสูงโดยวิธีการระเหยตัวทำละลาย แผ่นฟิล์มที่เตรียมได้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีนวัตกรรมen_US
dc.subjectพอลิแอลแลคติกแอซิดen_US
dc.subjectเซลลูโลสen_US
dc.subjectอนุภาคนาโนเงินen_US
dc.subjectแผ่นฟิล์มคอมพอสิทen_US
dc.titleการเตรียมแผ่นฟิล์มต้านเชื้อจุลินทรีย์ของพอลิแอลแลคติกแอซิด/เซลลูโลสสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารen_US
dc.title.alternativePrepatation of antimicrobial film of poly (l-lactic acid)/cellulose for food packagingen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.