Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/1530
Title: โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์การเรียนรู้อิทัปปัจจยตาสิกขาสถาณ
Authors: สิรวิชญ์ ชูอินทร์
Keywords: การออกแบบภายใน
การออกแบบก่อสร้าง
สถาปัตยกรรมภายใน
ศูนย์การเรียนรู้อิทัปปัจจยตาสิกขาสถาณ
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Abstract: “มนุษย์เราไม่ค่อยกระจ่างถึงเหตุปัจจัย ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุมุ่งแต่ความปรารถนาของตน เมื่อสิ่งในโลกไม่เป็นไปตามปรารถนาของตนเองก็เดือดร้อน แล้วก็รำคาญ ทุกข์ทรมาน เพราะว่ากระแสความคิดของเราไปขวางกับกระแสธรรมดาของโลกเข้า ถ้ากระแสความคิดของเรา กลมกลืนไปกับกระแสธรรมดาของโลก คือรู้เท่าทันธรรมดาของโลก เราจะไม่ทุกข์มากนักอะไรเกิดขึ้นก็รู้เท่าทันว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา หวังไม่ได้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย” (วศิน อินทสระ, 2550) ดั่งที่พระเทพสิงหบุราจารย์ [จรัญ ฐะมฺโม] (2541) บรรยายไว้ว่า คนเราสมัยนี้อยู่ว่างกันมาก จึงมีปัญหาสังคมมากเหลือเกิน หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าดีทุกกระเบียดนิ้ว แต่คนเราไม่ดี เพราะไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ สร้างแต่ปัญหาให้แก่ครอบครัว สร้างปัญหาให้สังคม สังคมเราจึงอยู่รอดปลอดภัยไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้คนที่เราจะไปรอดปลอดภัย ทำอะไรได้ถูกต้อง คนนั้นต้องปฏิบัติธรรม เดี๋ยวนี้คนเรียนสูงกันมาก เรียนกันถึงระดับปริญญาเอก โลกก็เจริญก้าวหน้าไปไกลแสนไกล แต่จิตใจคนตามโลกไม่ทัน จิตใจล้าหลังเหลือเกิน จึงสร้างปัญหาที่เลวทรามในระหว่างครอบครัวและสังคม ขณะนี้เราพูดกันว่า เศรษฐกิจตกต่ำ อาตมาคิดว่าราคาคนก็ตกต่ำ คนหมดราคาแล้ว มาช่วยกันทำราคาของคนให้สูงหน่อยได้ไหม ให้ตัวเองมีคุณภาพที่ดี อย่าให้ไร้คุณภาพ อย่าให้ขาดศีลธรรม ปัจจุบัน ผู้คนให้ความสำคัญกบวัตถุ หรือค่านิยมต่างๆ ในทางที่ผิด ทั้งเรื่องศีลธรรมหรือจริยธรรมในสังคม การอยู่ร่วมกันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกับสิ่งที่เรากับคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ผู้คนหลงลืมความละอายต่อการทำของตนเอง หรือละอายต่อผู้อื่น และสังคม ไม่ละอายต่อการกระทำที่ผิดบาปหรือแม้การเบียดเบียนผู้อื่น เหล่านี้ก็จะเกิดผลกระทบกันเองไปมาเหมือนกับน้ำในแก้ที่สั่นคลอนก็จะกระทบกันไปหมด ส่งผลให้สังคมขาความเมตตา และเกิดความเกิดชังริษยา ทำให้เป็นสังคมตัวใครตัวมัน เกิดเป็นสังคมแห่งความเห็นแก่ตัว ในอีกรูปแบบนึงผู้ที่หลงอยู่ในกระแสวัตถุ ก็จะมัวเมาไปด้วยกันทำให้สังคมนำไปสู่ความเสื่อม เกิดความรุนแรงต่อสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกัน ไม่เชื่อกระทั่งคำสอน เพราะคิดว่าตัวเองดีแล้วเจริญแล้วหรือแม้มองว่าเป็นเรื่องหน้าเบื่อหน่ายว่าที่อันตรายก็คือ ไม่มีใครรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดปกติของสังคม [พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี] (2550) ตั้งข้อสังเกตของสังคมฐานศรัทธาไว้ว่า สังคมฐานศรัทธาสังเกตง่ายมาก ขายโฆษณาได้ง่าย วัตถุนิยมเจริญได้ง่าย ประชานิยมเจริญได้ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคิด มุ่งไปทางบริโภคแต่ในสังคมฐานปัญญาทุกอย่างจะถูกตั้งคำถาม ล่าสุดถ้าเราดูข่าวตอนนี้เมื่อต้นปี จะเห็นว่าลูกของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะดื่มเหล้า พอไปดื่มเหล้า ถูกศาลสั่งให้ทำงานบริการสังคม 40 ชั่วโมง เราดูแล้วก็มองว่า ในสังคมที่เขาดูไม่ให้ความสำคัญกบจริยธรรมรงกนข้ามกับอ่อนไหวเรื่องจริยธรรมมาก แม้แต่ลูกของประธานาธิบดีก็ไม่มีดับเบิลสแตนดาร์ด แต่ในเมืองไทยที่เป็นสังคมฐานศรัทธากลับปล่อยปละละเลย เราจะเห็นว่า ไม่เพียงสถาบันสงฆ์เท่านั้นที่น่าเป็นห่วงสถาบันสังคมไทยก็น่าเป็นห่วง การเมืองไทยก็น่าเป็นห่วง ธรรมะ คือ การทำให้เราอยู่ร่วมกันในโลกอย่างสันติสุขและมีความสุข ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องเป็นคนดี เมื่อเราเป็นคนดีก็ช่วยลดคนเลวไปได้ 1 คน แล้วคนดีนี่เองจะช่วยสร้างคนดีอีกหลายร้อยคน หลายพันคน วิธีที่ดีที่สุดนั่นคือ ทำตัวเป็นคนดีด้วยตนเองและเป็นคนดีทุดวิถีทางเพื่อจะได้เป็นคนดีทางสังคมและประเทศชาติในอนาคต ซึ่งวัยรุ่นก็เป็นช่วงสำคัญที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต (พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, 2548) ปัจจุบันนั้น ผู้คนมองว่าธรรมะเป็นเรื่องน่าเบื่อทั้งที่เราเป็นชาวพุทธ เนื่องจากคนสมัยนี้ชอบอะไรง่ายๆ บริโภคง่ายๆ แต่ในความจริงเรื่องธรรมะหากจะทำความเข้าใจไม่ได้ยากอย่างที่คิด และก็ควรจะเข้าถึงเรื่องพื้นฐานที่ถือเป็นเรื่องง่ายเรื่องปกติของมนุษย์อยู่แล้ว โครงการนี้จึงนำเรื่องพื้นฐานซึ่งเป็นปกติมนุษย์มาใช้สื่อสารต่อผู้ใช้งาน เพื่อที่จะได้นำไปใช้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้คนได้เรียนรู้และได้ประสบการณ์ด้วยตนเองต่อเหตุและผลต่างๆ จึงจะทำให้ผู้คนเข้าใจในชีวิต ความเป็นมาของเหตุนั้นเหตุนี้ ซึ่งส่งกระทบมายังผลที่เราได้รับ เพื่อการอยู่ร่วมกันและความสมบูรณ์อย่างยั่งยืนอันแท้จริงต่อโลกใบนี้กับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน อิทัปปัจจยตาคือการเข้าใจในเหตุแลผลที่เป็นไปตามธรรมดาของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ทำให้เราเกิดความเข้าใจเหตุและผลที่หมุนเวียนไป ทำให้เข้าใจในปัญหาและทุกสิ่งและสามารถแก้ปัญหาที่จุดไหน และเพื่อการยอมรับมองไปตามสิ่งความเป็นธรรมดาของมันเอง โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าใจในกระแสของโลกในเหตุและผลของมันไม่เข้าไปเกิดความสุขทุกข์ยินดียินร้าย ไม่เข้าไปขวางกระแสของมันเมื่อเราเข้าใจและรู้ว่าจะแก้ตรงไหนก็จะนำสืบต่อไปเป็นนิสัยเข้าใจได้ด้วยตนเองมิใช่การท่องจำและความสุข ความสงบในสังคมก็จะเกิดขึ้น ปัญหาในสังคมจะลดลงทีละลำดับขั้นตอน และส่งผลให้เราอยู่ร่วมกันอย่างไว้ใจและมีความสุข และเข้าใจความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/1530
Appears in Collections:โครงงาน (Project)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
121179.pdfโครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์การเรียนรู้อิทัปปัจจยตาสิกขาสถาณ21.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.