Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2004
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนงลักษณ์ จั่นมาก
dc.date.accessioned2014-11-24T06:49:04Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:48:23Z-
dc.date.available2014-11-24T06:49:04Z
dc.date.available2020-09-24T04:48:23Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2004-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับงานใหม่ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ เรื่องการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดจำนวนงานเสียในกระบวนการรับงานใหม่ ประชากรวิจัย ได้แก่ พนักงานจาก บริษัทโกลด์ เพรส อินดัสตรี จำกัด ที่เป็น วิศวกรหัวหน้างาน/แผนก 16 คน ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้การสำรวจและแผนทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสำรวจปัญหาที่เกิดจากกระบวนการรับงานใหม่ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม รวมทั้งแบบประเมินสมรรถนะหลังการฝึกอบรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่เกิดกระบวนการรับงานใหม่ของบริษัทโกลด์ เพรส อินดัสตรี จำกัด ที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวกับ แผนควบคุมการผลิต (Advanced Product Quality Planning) หน่วยสมรรถนะการวางแผนควบคุมการผลิตนี้ประกอบสมรรถนะย่อย (Element of Competency) 4 หน่วย ดังนี้ 1) ศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต 2) วิเคราะห์ความเสี่ยงในการผลิต 3) วางแผนงานควบคุมการผลิตชิ้นงานตัวอย่าง และ 4) ติดตามการดำเนินงานตามแผนงานควบคุมการผลิต หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสมรรถนะในระดับมาก และหลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคนผ่านเกณฑ์สมรรถนะตามที่กำหนดไว้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไปen_US
dc.description.abstractThe objectives of this research were to study problems related to New Model procedure, to develop competency based curriculum and to study efficiency of the Competency Based Curriculum on Production Planning in Advanced and Production Control for Reducing Losses in New Model. The population were 16 selected engineers and supervisors of Gold Press Industry Co.,ltd. Methodology of this Research was Research and Development which surveyed and experimented through One Group Posttest Only Design. The data was obtained by questionnaire to study problems, rating scales for evaluating congruence and appropriateness of the curriculum as well as competency assessment checklist. The data was analyzed by frequency, percentage, Index of Congruence, mean and standard deviation. The research results were the highest frequency problem related to New Model procedure as Advanced Product Quality Planning. The Planning of Product Quality Control Unit composed of 4 elements of competency as 1) Feasibility of Production, 2) Risk Analysis of Production, 3) Planning of Samples Production Control and 4) Monitoring of Product Quality Control Planning. The competency-based curriculum was congruent conforming to competency standard of 4 units and its appropriateness was high. The curriculum was efficient justified by post competency assessment of all subjects were more than 80 percent.en_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรen_US
dc.subjectการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าen_US
dc.subjectการควบคุมกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะen_US
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะเรื่อง การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดจำนวนงานเสียในกระบวนการรับงานใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Development of Competency Based Curriculum on Production Planning in Advanced and Production Control for Reducing Losses in New Modelen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
139307.pdfการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะเรื่อง การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อลดจำนวนงานเสียในกระบวนการรับงานใหม่17.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.