Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2014
Title: | การทบทวนวรรณกรรมการใช้เทคนิค QFD ในการออกแบบหลักสูตร |
Other Titles: | A Review Using QFD for Curriculum Design |
Authors: | ศุภมิตร กิจเธาว์ ระพี กาญจนะ |
Keywords: | QFD บ้านคุณภาพ การออกแบบหลักสูตร สถานศึกษา |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Abstract: | สถานศึกษามีหน้าที่ผลิตกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เทคนิคที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบหลักสูตรคือ เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) เทคนิคนี้จะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจากมุมมองที่แตกต่างกันไปพร้อมๆ กัน จากนั้นก็เชื่อมโยงความต้องการเหล่านั้นให้สอดคล้องกัน ในการออกแบบหลักสูตรเพื่อการเรียนการสอนโดยทั่วไปจะเก็บข้อมูลความต้องการจากสถานประกอบการซึ่งจะเป็นนายจ้างอนาคตของผู้เรียน ศิษย์เก่า คณาจารย์ เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์บทความ งานวิจัยที่ดีมีการประยุกต์ใช้ QFD ในการออกแบบหลักสูตรมีการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็นสองส่วนคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน และภายนอกสถานศึกษา ผู้มีส่วนได้เสียภายในคือ คณาจารย์และนักเรียน ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกคือ สถานประกอบการ ผู้ปกครอง และชุมชน โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรจะถูกระบุผ่านผู้มีส่วนได้เสียโดยการสัมภาษณ์และการใช้แบบสอบถามความต้องการเหล่านี้จะใช้ในการพัฒนาตารางความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับข้อจำกัดทางเทคนิคของสถานศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการที่แท้จริงหลังจากนั้นปัจจัยที่สำคัญในการออกแบบหลักสูตรจะถูกบ่งชี้และนำไปใช้ในการพัฒนาและจัดทำหลักสูตรที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการอย่างเหมาะสม Educational institution has a primarily responsible for generating people who are capable to meet the industry’s requirements. Therefore designing a qualified curriculum to develop the capability of learners becomes significantly important for the educational institution. The quality function deployment (QFD) technique has been a popular and widely used for a curriculum and course design. By applying this technique, customer requirements from different perspectives were analyzed simultaneously and then those requirements were linked consistently. Generally, the requirements were collected from the industry who becomes and employer of student in the future, alumni and lecturers etc. The objective of this article is to collect and analyze the historical articles and researchers relevant to applying the QFD technique for curriculum and course design. There are 33 articles were found and then analyzed. The results showed that the QFD has been widely used in the areas of curriculum and training course design. In process of curriculum design, the requirements of stakeholders were divided into two section; internal stakeholders (within the institute) and external stakeholders (outside the institute). Lecturers and students were identified as the internal stakeholders while industry, parents, community were identified as the external stakeholders. The objective of curriculum was indicated by interviewing and gathering the stakeholders’ requirements by the questionnaire. These requirements will be used to develop a relationship matrix between the stakeholders’ requirements and the technical specification of the institute to obtain real information of the requirements. After that the significant criteria will be presented and used for developing and conducting a quality curriculum which consists with the stakeholders’ requirements properly. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2014 |
ISSN: | 1685-5280 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Journal of Engineering Y.12 Vol.1 p.1-13 2557.pdf | การทบทวนวรรณกรรมการใช้เทคนิค QFD ในการออกแบบหลักสูตร | 782.69 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.