Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2066
Title: | ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับปัญหา เรื่องที่มาของ “มาลัยเถา” ที่รองรับเจดีย์ทรงระฆังกลมในศิลปะอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 20-21 |
Other Titles: | The problem about the origin of “Malaitao” (triple torus mouldings) of the Bell-Shaped Stupa in Ayutthayan Art. |
Authors: | เชษฐ์ ติงสันชลี |
Keywords: | เจดีย์ทรงระฆังกลม มาลัยเถา Inverted bell-shaped Stupa Malaitao |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะโบราณคดี |
Abstract: | เจดีย์ทรงระฆังกลมที่รองรับด้วยมาลัยเถา นับว่าเป็นเจดีย์ที่มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในศิลปะอยุธยาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา รวมทั้งยังเป็นเจดีย์แบบหนึ่งที่มีบทบาทมากในสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ดีที่มาของมาลัยเถาซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของเจดีย์รูปแบบนี้ ยังคงเป็นประเด็นที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
จากหลักฐานทางเอกสาร เจดีย์ทรงระฆังที่รองรับด้วยมาลัยเถาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่สามารถสืบค้นได้ขณะนี้ก็คือ เจดีย์ประธานวัดมเหยงคณ์ เจดีย์รูปแบบนี้อีกองค์หนึ่งที่มีหลักฐานเอกสารระบุว่าสร้างขึ้นในระยะเวลาถัดมา ได้แก่ เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ หลังจากการสร้างเจดีย์ทั้งสององค์นี้ ทำให้เจดีย์ทรงระฆังที่รองรับด้วยมาลัยเถาได้รับความนิยมสืบมาในศิลปะอยุธยา เนื่องด้วยขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานทั้งทางด้านเอกสาร และทางด้านศิลปกรรมที่แน่ชัดเกี่ยวกับการปรากฏขึ้นของเจดีย์ทรงนี้ก่อนครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 20 ดังนั้นในปัจจุบันนี้ จึงยังคงถือเอาเจดีย์ประธานวัดมเหยงคณ์ และเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งเป็นเจดีย์กลุ่มแรก ๆ ในศิลปะอยุธยาที่ปรากฏการใช้มาลัยเถารองรับองค์ระฆังดังนั้นการศึกษาที่มาของมาลัยเถาจึงควรพิจารณาจากเจดีย์ทั้งสององค์นี้เป็นหลัก The inverted bell-shaped Stupa supported by the moulding called “Malaitao” (triple torus mouldings) is one of the most popular type of Stupa during Ayutthaya period since the 15 th centrury down to the period of Bangkok. However, the origin of the moulding “Malaitao” which is the most important character of this Stupa is still in a question. From the documentary evidence, the oldest inverted bell Stupa supported by “Malaitao” is the main Stupa of Wat Maheyong. Despite being popular throughout the period, none of this kind of Stupa is found before the 14th century. Therefore, the Stupa at Wat Maheyong is possible to be one of the most ancient of its kind in Ayutthayan Art. Afterwards, the Stupa which is supported by the same moulding enjoys more popular, for instance, the main Stupas at Wat Phra Si Sanphet. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2066 |
ISSN: | 2351-0285 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - FA) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 25....pdf | ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับปัญหา เรื่องที่มาของ “มาลัยเถา” ที่รองรับเจดีย์ทรงระฆังกลมในศิลปะอยุธยาพุทธศตวรรษที่ 20-21 | 593.46 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.