Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2083
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรภัค คมนา
dc.date.accessioned2015-01-09T07:34:20Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:48:12Z-
dc.date.available2015-01-09T07:34:20Z
dc.date.available2020-09-24T04:48:12Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2083-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานีและ 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะรูปแบบเกมออนไลน์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 241 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยจากการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี ในจำนวนนักเรียน 241 คน มีนักเรียนที่เล่นเกมออนไลน์ จานวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 83.40 นักเรียนที่ไม่เล่นเกมออนไลน์ จานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 16.59 นักเรียนที่เล่นเกมออนไลน์ส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์ใช้ทางานส่วนตัว จานวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 63.18 สถานที่นิยมเล่นเกมออนไลน์คือ บ้าน จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 71.14 พบว่าจำนวนชั่วโมงในการเล่นเกมออนไลน์ต่อ 1 วัน นักเรียนจะเล่นไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน จานวน 81 คน ไม่จำกัดเวลาเล่น จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 32.33 และนิยมเล่นในช่วงเวลา 12.00-16.00 น.จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.31 และส่วนใหญ่เล่นในวันเสาร์และวันอาทิตย์ จานวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 50.74 2) รูปแบบและเนื้อหาพบว่านักเรียนชื่นชอบเนื้อหาที่เกี่ยวกับการผจญภัยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.85 ส่วนในรูปแบบการนำเสนอเกมนักเรียนที่เล่นเกมออนไลน์จะพิจารณาจากรูปร่างของตัวละครในการเลือกเล่นเกมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 38.30 และนิยมชอบภาพ 3 มิติคิดเป็นร้อยละ 43.78 ในส่วนของดนตรีประกอบชอบเสียงเพลงบรรเลงประกอบฉากและเสียงเพลงที่กาลังเป็นที่นิยมอยู่ในเกมเดียวกันคิดเป็นร้อยละ 44.77 รายละเอียดในการปรับแต่งตัวละครนักเรียนชอบกำหนดการแต่งตัวละครได้อย่างอิสระ สามารถเปลี่ยนแบบสีตา สีผิว เพศ เผ่าพันธุ์ได้ คิดเป็นร้อยละ 34.32 ในการเลือกเล่นเกมออนไลน์นักเรียนนิยมเลือกพัฒนาการของตัวละคร คิดเป็นร้อยละ 35.82และ ชื่นชอบโครงเรื่องที่สามารถต่อสู้แข่งขันกันได้ คิดเป็นร้อยละ 33.83 และฉากการต่อสู้สามารถเปลี่ยนไปตามภารกิจของเนื้อเรื่อง คิดเป็นร้อยละ 40.29 และ 3) เกมออนไลน์ที่นักเรียนนิยมเล่น อันดับ 1 คือเกม Heroes Of Newerth : HON เป็นเกมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการผจญภัยและการต่อสู้อยู่ในเกมเดียวกัน เป็นเกมที่ต้องทางานร่วมกันเป็นทีมในการเอาชนะคู่ต่อสู้อีกฝ่าย ซึ่งการเรียนรู้ที่นักเรียนได้จากเกมออนไลน์นั้นเกิดทักษะพิสัยมากที่สุด ส่งผลต่อทักษะและความสามารถในการพิมพ์อักษร รองลงมาช่วยให้มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง มือ และตาen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.subjectเกมออนไลน์ -- พฤติกรรมการเรียนรู้en_US
dc.subjectรูปแบบเกมออนไลน์en_US
dc.subjectพฤติกรรมการเรียนรู้en_US
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบเกมออนไลน์ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeThe analysis of the impact of online game genre to thanyarat junior high school students learning behavioren_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
The analysis of the impact of online game genre to thanyarat junior high school st....pdfThe analysis of the impact of online game genre to thanyarat junior high school students learning behavior3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.