Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2092
Title: | การพัฒนาความร่วมมือในโซ่อุปทานระหว่างผู้ประกอบการผลิต ผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า และผู้ประกอบการค้าปลีก |
Other Titles: | The Development of Synergy of Value in Supply Chain Collaboration Among Manufacturing Enterprises, Retail Operators and Distribution Center |
Authors: | ณัฐวุฒิ ธนเสน |
Keywords: | ความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการ การผลิต ศูนย์กระจายสินค้า การค้าปลีก Synergy Supply Chain Management The Manufacturing Enterprises Operators of retail Operators of the distribution Center |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พื่อ 1) ศึกษาระบบการบริหารจัดการความร่วมมือในโซ่อุปทาน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น 2) ทราบถึงปัญหาระบบการบริหารจัดการ โซ่อุปทาน 3) ศึกษาถึงสาเหตุที่มาของปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทาน ระหว่างผู้ประกอบการผลิต ผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า และผู้ประกอบการค้าปลีก ตลอดจนการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทาน
ขอบเขตของการศึกษา มีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ในต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองพิเศษนครเซี่ยงไฮ้ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับสูงของโลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ เช่น สโตร์ ประเทศจีน กลุ่มผู้ประกอบการผลิต กลุ่มผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์จึงเป็นการทำวิจัยแบบผสมทั้งคุณภาพและปริมาณ วิธีการวิจัยแบบผสมที่นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพส่วนหลัก และการวิจัยเชิงปริมาณเป็นส่วนสนับสนุนโดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ประกอบการต่างๆ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในข้อมูลหลักที่เลือกแบบเจาะจง จากห้ากลุ่มที่เป็นกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในแต่ละกลุ่มในเขตการปกครองพิเศษนครเซี่ยงไฮ้ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะนำแนวความคิดของที่เป็นแบบปัจจุบันในประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือของมูลค่าห่วงโซ่อุปทานของผู้ประกอบการผลิต ผู้ประกอบการค้าปลีก ผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า เพื่อสนับสนุนแนวความคิดของการทำงานร่วมกัน การวิจัยเชิงปริมาณ พนักงานของผ้ปู ระกอบการทั้งสามฝ่าย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสี่ร้อยคนของทุกส่วนร่วมกันรับผิดชอบในการตอบคำถามเพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อโซ่อุปทานด้วยการแจกแบบสอบถาม และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยและผ่านการวิเคราะห์ด้วยการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการทั้งสามฝ่าย ได้แก่ ผู้ประกอบการผู้ผลิต ผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า และผู้ประกอบการค้าปลีกต้องร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีในการทำงานร่วมกัน ด้านข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและเป็นปัจจุบันทันเวลา ในลักษณะของระบบที่พัฒนาร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของในแต่ละองค์กร เพื่อนำมาพัฒนาร่วมกันเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยการนำเทคโนโลยีซอฟแวร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อลดปัญหาต่างๆ จากการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันด้วยพลังขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานของทุกฝ่าย ในการเก็บสินค้า การส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภคอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ มากไปกว่านั้นพบว่าผลการวิจัยประสบความสำเร็จในรูปแบบใหม่ของความร่วมมือ คุณค่าในโซ่อุปทานเรียกว่า “โจ ซินเนอร์จี้ แวร์ลู เชน” ต่อไป The objectives of the research were: 1) to study management system, collaboration in the supply chain so that the entrepreneur would have a better understanding, 2) to study the problems of supply chain management System and find the ways to solution of the problems caused by supply chain management system among The Manufacturing Enterprises, Operators of retail and Operators of the distribution Center, and 3) to study the cause of the problems. The limitation solving, the problem and find the appropriate model for management system of the supply chain as well The area of study was mainly based on the overseas study in the special administrative region, in Shanghai, the People’s Republic of China. The samples were the Executives of Lotus Super center chain store, China, Manufacturing Enterprises, Operators of Distribution Center, Operators of Retails, and a group of Experts. In order to accomplish the objectives, mixed methods of research were applied through the combination of the qualitative research as the main part and the quantitative research as the supporting one. The in-depth interview of key informants selected purposively from five groups of Executives, among them were the top administrators and executives of Lotus Super Chain Stores in Shanghai, the People’s Republic of China, Manufacturing Enterprises and Distribution Center to contribute the concept of the synergic management at the real time of performance in order to develop the synergy of value of the supply chain collaboration, in Manufacturing Enterprises, Operators of Distribution Center, Operators of Retails for supporting the ideas of synergy of values. Four Hundred operators, experts, in the three-party in supply chain. The synergy of values contributed their responds for the questionnaires which provided data to be collected and analyzed statistically through Pearson’s analysis. Findings were the synergy of values of three party in supply chain needed to develop their technology together. The information system should be accreted at the real time, the systems of the software technology application should be a product of join development in order to reduce and to solve the problems in computer productions, to avoid competition but to promote cooperation, instead, more over the findings would lead to development of the new model in synergy of the values for the supply chain as the so called “Jo’s Synergy Value Chain Model” |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2092 |
ISSN: | 1905-8446 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
วารสาร Global Business and Economics Review ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2557 ....pdf | การพัฒนาความร่วมมือในโซ่อุปทานระหว่างผู้ประกอบการผลิต ผู้ประกอบการศูนย์กระจายสินค้า และผู้ประกอบการค้าปลีก | 816.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.