Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/210
Title: พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าแบบพอเพียงก่อนและหลังการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยังยืนในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Consumer’s Behavior of Using Electricity Before and After Installing Solar Home System in Pathumthani Province
Authors: จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์
พิมพ์นภัส เอี่ยมสมบูรณ์
กรธัช โฆษิตโภคิน
บุญยัง ปลั่งกลาง
กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์
Keywords: ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า -- พลังงานแสงอาทิตย์ -- ปทุมธานี
ไฟฟ้า
พลังงานแสงอาทิตย์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะศิลปศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มประชากรผู้ใช้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Home System: SHS) ในจังหวัดปทุมธานี ศึกษารูปแบบพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า จากระบบ SHS ในจังหวัดปทุมธานี และเปรียบเทียบพฤติกรรมของประชาชนก่อนและหลังการติดตั้ง ระบบ SHS ในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในครัวเรือนที่ได้รับการติดตัง ระบบ SHS จำนวน 194 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ คณะผู้วิจัยสร้างขึน ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการใช้ประโยชน์จาก พลังงานไฟฟ้ า ประเภทและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ความคิดเห็นต่อการได้รับประโยชน์จากการใช้ ไฟฟ้า ความรู้ความเข้าใจต่อระบบ SHS พฤติกรรมการใช้ประโยชน์และการดูแลรักษาระบบ SHS ปัญหา และ ข้อเสนอแนะ ต่อระบบ SHS สถิติที่สำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้ง นี้ประกอบไปด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี การศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยส่วนมากอยู่ระหว่าง 3-4 คน เกินครึ่งหนึ่งของผู้ให้สัมภาษณ์มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีตั้งแต่เกิดและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่ง นี้มานาน 11 - 20 ปี ประกอบอาชีพส่วนตัวและไม่ได้ประกอบอาชีพรองอื่นใดอีก มีรายได้ เท่ากับรายจ่าย คือ ประมาณ 10,000 บาท/เดือน ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากไม่มีเงินออม มีภาระหนี้สิน เพื่อจ่ายค่าเล่าเรียน บุตรหลาน บ้านที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวชั้น เดียวทำด้วยไม้ ที่ดินปลูกสร้างที่อาศัยอยู่เกือบทั้ง หมดเป็นที่ดิน ของกรมชลประทาน ก่อนการติดตัง ระบบ SHS ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีไฟฟ้าใช้จากการพ่วงต่อไฟจาก บ้านอื่น หลังการติดตัง ระบบ SHS มีไฟฟ้าใช้จากการพ่วงต่อไฟจากบ้านอื่นพร้อมกับใช้ไฟฟ้าจากระบบ SHS โดยมีความคิดเห็นต่อการได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าว่า การมีไฟฟ้าใช้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึน และมี ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อระบบ SHS มีพฤติกรรมที่ดีในการประหยัดพลังงานไฟฟ้ าโดยปฏิบัติอย่าง สม่ำเสมอ และมีการดูแลบำรุงรักษาระบบ SHS นานครั้ง ๆ ผลการทดสอบ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ รวมทั้ง ครัวเรือน ความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็น ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมใช้ไฟฟ้ าแบบพอเพียงก่อนและหลังการติดตั้ง ระบบ SHS แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้ง ไว้ แต่รายจ่ายรวมทั้ง ครัวเรือนไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน ที่ตั้ง ไว้
The purposes of this research is to study about the general information of the group of populations who use the solar home systems (SHS) in Prathumthani province. Besides, this research proposes the study of the various types of behavior and also compares the results among the people’s behaviors. The example group is about 194 persons who use SHS, and systematically random by using systematic random sampling method. Many researchers made the interview form as an equipment test that has the personal data, energy benefit, the types of electric energy, the understanding of solar cell system and so on. The significant statistic of data analyzing includes percentile, average, standard deviation, testing by T-Test and analyzing one-way ANOVA. The research found that most of interviewee are female in the age of 41-50 year olds, graduated in the lower P.6 level. The number of members in each house are 3-4 persons. Over the half of interviewees have their home town in Pathumthani, and also live in the village for 11-20 years. Their jobs are the small business, and there have no another job. They earn as much as they purchase (10,000/Month). This cause the debt problem and no saving account to pay for their children' education fees; besides, their accommodations is the wooden one-floor detached house, and most of land belong to Royal Irrigation Department. Before SHS system installation, most of interviewees used the electric energy by connecting the electric energy from the others houses. After SHS system installation, they use the electric energy by connecting from the others, along with using the electric energy from SHS system. Each of them agrees with the electric energy can support the better life, and also have the right understanding to SHS system. They have a good behavior of regularly saving the electric energy and occasionally regard to SHS system. From the test result, This study found that the distinction of gender, age, level of education, number of the member in each house, family income, understanding and point of view can cause the difference of self-sufficient behavior both before and after solar cell system installation as the regulative assumption, but not for the family income.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/210
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pages from พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าแบบพอเพียงก่อนและหลังการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้ว....pdfพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าแบบพอเพียงก่อนและหลังการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยังยืนในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี764.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.