Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2101
Title: | การพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Other Titles: | Organizations Sustainable Development in the three Southern Border Provinces |
Authors: | พันเอกบุญเอื้อ บุญฤทธิ์ |
Keywords: | การพัฒนาองค์การ ด้านความมั่นคง การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง การพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระบบการบริหารจัดการองค์การ กลยุทธ์การบริหารจัดการ และจุดอ่อน จุดแข็ง ตลอดจนการนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาองค์การความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการตรวจสอบเอกสาร แจกแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกโดยวิธีเจาะจง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้กำหนดนโยบายผู้บริหารระดับสูงในภาครัฐ ผู้ปฏิบัติงาน และนักวิชาการ รวมถึงผู้รู้ในเรื่องนี้ดีซึ่งเป็นคนในพื้นที่ รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 412 คน ข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แล้วสรุปรายงานด้วยการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแรงจูงใจมาจากปัญหาการบริหารงานบุคคล เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาไม่นาน ยังขาดการเตรียมการด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น การวางแผนอัตรากำลังคนยังต้องมาจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สอดคล้องกับปริมาณงาน ตลอดจนรูปแบบขององค์การ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบุคลากรยังมุ่งเน้นไปที่ข้าราชการระดับสูงมากกว่าข้าราชการระดับต้น สำหรับการบรรจุแต่งตั้งปรับเลื่อนตำแหน่ง และการโยกย้ายข้าราชการ ยังคงอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ จากข้อค้นพบข้างต้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาแผนกลยุทธ์ขององค์การให้สอดคล้องกับความเป็นปัจจุบันมากที่สุด ควรแบ่งแยกภารกิจอย่างชัดเจน และเน้นความร่วมมือกันทั้งองค์การ ควรเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ระดับต้น และระดับกลาง มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาบุคคลตามหลักสมรรถนะ ควรใช้วิธีการระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันก่อนจะตกลงใจสั่งการโดยเน้นให้มีผู้รับผิดชอบเพียงคนเดียว ควรจัดในรูปคณะกรรมการประสานงานและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกฝ่ายตลอดเวลา รวมทั้งฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษายาวีได้ ควรมอบหมายการเสนอรายงานให้เจ้าหน้าที่ระดับรองในบางเรื่องอย่างชัดเจน และควรทำแผนการบริหารงบประมาณอย่างต่อเนื่องในรูปคณะกรรมการ เพื่อให้ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณที่สามารถปรับเปลี่ยนรายการได้โดยอิสระไม่ต้องขออนุมัติก่อน The objective of study organizations sustainable Development in the three southern border provinces is; Management System of Organization, Management Strategy and SWOT analysis. This study use Mixed Method Research which including tools; survey, in-depth interview by selected sample. The in-depth interview separate into four groups are The policy maker, Top management from the government, Participate of this policy and Professional in this study area total of 412 interviewees. The result are analyze by the program and report. The result of Organizations sustainable Development in the three southern border provinces found that; the problem of organization development is Human resource. Because the organization just started and structure of organization as well as the development of human resource focus of the top level. Researcher has suggested as follow; the organization shall develop strategy plan together with the current situation, explicitly job description and collaborate inside organization. The organization shall brain storm from all stakeholders, language training (Yawee) and Budget management in system, however Center shall able to change without permission. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2101 |
ISSN: | 1905-8446 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - BUS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
วารสาร Global Business and Economics Review ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2557 ....pdf | การพัฒนาองค์การด้านความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.