Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2112
Title: | เรื่องสภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหาจังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Problems of Community Conflicts and Suitable Solutions in Pathumthani Province |
Authors: | สุกัญญา รุ่งทองใบสุรีย์ |
Keywords: | ความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง conflicts conflict resolutions |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปศาสตร์. ภาควิชาสังคมศาสตร์ |
Abstract: | การศึกษาเรื่องสภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหา จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน จังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งในรูปแบบต่างๆในชุมชนจังหวัดปทุมธานี และ 3)ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้งในชุมชนจังหวัดปทุมธานี ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัย ไว้ 4 ขั้นตอน คือ ศึกษาจากเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ประสบปัญหาหรือเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจานวน 200 ตัวอย่าง ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการความขัดแย้งแบบเจาะลึก 30 ตัวอย่าง และการสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากผู้ประนีประนอมของศาล กลุ่มผู้อาวุโส ผู้นาชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. เทศบาล และอำเภอ โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่า 1)สภาพปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คนในชุมชนจังหวัดปทุมธานียอมรับว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน สามารถแก้ไขได้ ถ้าแก้ไขสำเร็จจะทำให้ชุมชนพัฒนาขึ้นได้จริง ในชุมชนของตนมีความขัดแย้งทั้งที่ปรากฏออกมาแล้ว และแฝงตัวอยู่ พร้อมที่จะลุกลามไปสู่ความขัดแย้งในระยะต่อไปได้ถ้าไม่ได้รับการจัดการที่ดี ชุมชนในเขตเทศบาลมีจำนวนประเด็นความขัดแย้งที่ปรากฏออกมาแล้วมากกว่าชุมชนนอกเขตเทศบาล ด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมองว่ามีลักษณะแบบคนรู้จัก 2) ประเภทความขัดแย้งแบ่งตามเนื้อสาระได้ 4 กลุ่ม คือ ความขัดแย้งจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการบริการของรัฐ ความขัดแย้งที่เกิดจากค่านิยมต่างกันตามความเคยชินที่เคยปฏิบัติกันมา ความขัดแย้งจากการผลประโยชน์ขัดกัน และความขัดแย้งที่เกิดจากอุดมการณ์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก 3)สาเหตุของความขัดแย้ง ลำดับที่ 1 มาจากสาเหตุด้านผลประโยชน์ ลำดับที่ 2 มาจากสาเหตุด้านความสัมพันธ์ ลำดับที่ 3 มาจากสาเหตุด้านค่านิยม และลำดับที่ 4 มาจากสาเหตุด้านข้อมูลและจากสาเหตุด้านโครงสร้าง/กฎระเบียบ
การศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งพบว่า ชุมชนจังหวัดปทุมธานี มี 3 แนวทางใหญ่ ๆ เรียงลำดับดังนี้ การใช้สันติวิธี การไม่จัดการปัญหา และ การใช้วิธีรุนแรง โดยการใช้สันติวิธี จะแบ่งได้ 2 แนวทาง คือการเจรจา โดยใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ยกับเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง และการฟ้องร้อง ซึ่งรูปแบบการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง จัดเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดความรู้สึก ชนะ-ชนะ(win - win) ได้ผลสำเร็จเสียเป็นส่วนใหญ่ This research aimed to study 1) nature and causes of conflicts in communities in Pathumthani province, 2) approaches to resolve those conflicts, and 3) suitable models of resolving the conflicts. The four steps of research methods were applied: studying the relevant document, gathering information from 200 conflicted parties—both inside and outside municipal areas, in-depth interviewing 30 people who dealt with conflicts, and focus group discussing among court peacemakers, senior people, community leaders, village chiefs, sub-district chiefs, and officers from sub-district administration organization, municipality, and districts—using questionnaires and semi-structure interviews. The results showed that 1) people in Pathumthani accepted that conflicts were commonly found in living together and could be resolved. In fact, conflict resolution would lead to community development. There were both emerging and latent conflicts in the communities, and might become worse if they were not properly dealt with. People living inside municipal areas faced more conflict situations than those of outside municipal areas. The social relationship in communities was in the acquaintance stage. 2) The conflicts could be categorized into four main groups—conflicts from injustice of public services, conflicts of values, conflicts of interests, and conflicts of ideals—leading to partisanship. 3) Causes of conflicts arose from different interests, social relationship, set of values, and information and structures or rules respectively. In case of dealing with conflicts, it was found that people in Pathumthani adopted three main approaches respectively–peaceful approach, wait-and-see approach, and violent approach. A dialogue, a dialogue through a mediator, and suing were applied in a peaceful approach. A win-win approach was mostly successful. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2112 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - LARTS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140516.pdf | เรื่องสภาพปัญหาความขัดแย้งในชุมชนและรูปแบบที่ใช้ในการจัดการปัญหาจังหวัดปทุมธานี | 4.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.