Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2118
Title: | การศึกษาอิทธิพลของโลหะแผ่นผสมในกระบวนการลากขึ้นรูปลึกด้วยกระบวนการไฮดรอไดนามิก |
Other Titles: | The Influence of the Alloy Sheet Metal on Hydrodynamic Deep Drawing Process |
Authors: | มนตรี น่วมจิตร์ พันธุ์พงษ์ คงพันธุ์ |
Keywords: | การลากขึ้นรูปลึก กระบวนการไฮดรอไดนามิก แรงกดชิ้นงาน ความหนืดเชิงจลศาสตร์ deep drawing hydrodynamic process punch force blank holder force kinematics viscosity |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิศวกรรมศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | กระบวนการลากขึ้นรูปลึกเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่นิยมใช้ในการขึ้นรูปโลหะแผ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ภายในครัวเรือน สาหรับการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึงกระบวนการลากขึ้นรูปลึกด้วยกระบวนการไฮดรอไดนามิก เพื่อเพิ่มความสามารถในการขึ้นรูปโลหะแผ่น
การศึกษาวิจัยฉบับนี้ ทาการศึกษาถึงอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อการลากขึ้นรูปลึกด้วยกระบวนการไฮดรอไดนามิกของโลหะนอกกลุ่มเหล็ก 3ชนิดคือ อลูมิเนียม AA1100 ทองแดง C1100 และทองเหลือง C2801 โดยใช้น้ามันไฮดรอลิก ตามมาตรฐาน TIS 3 (ISO VG 68) แรงดันน้ามัน 3 ระดับ คือ 2.5, 5.0 และ7.5 Mpa. และแรงกดชิ้นงาน 3 ระดับ คือ 9.42 , 16.62 และ 35.69 N/mm2 ซึ่งอิทธิพลของตัวแปรเหล่านี้จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหนาของชิ้นงาน ความเครียดที่เกิดขึ้นบนชิ้นงาน รอยย่นและรอยฉีกขาดของชิ้นงานที่เกิดขึ้นหลังการขึ้นรูป
ผลการทดลองพบว่า แรงดันน้ามันและแรงกดชิ้นงานเป็นตัวแปรสาคัญและมีผลกระทบต่อกระบวนการลากขึ้นรูป เมื่อเพิ่มแรงดันน้ามันให้สูงขึ้นทาให้แรงในการลากขึ้นรูปและแรงกดพั้นช์ที่กระทาต่อชิ้นงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในการขึ้นรูป การลากขึ้นรูปลึกแผ่นอลูมิเนียม AA1100 พบว่าไม่สามารถขึ้นรูปได้ทั้งแบบปกติและกระบวนการไฮดรอไดนามิกส์ ส่วนการลากขึ้นรูปทองแดงC1100 การลากขึ้นรูปแบบปกติไม่สามารถขึ้นรูปได้ แต่หลังจากใช้กระบวนการไฮดรอไดนามิกจึงสามารถลากขึ้นรูปได้ การลากขึ้นรูปแผ่นทองเหลือง C2801 ไม่สามารถขึ้นรูปได้ที่แรงกดเหยียบ 35.69 N/mm2 และแรงดันน้ามัน 7.5MPa เท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบกับการลากขึ้นรูปลึกแบบปกติ ค่าความเครียดหลักและความเครียดรองของอลูมิเนียม AA1100 จะเพิ่มขึ้นเป็น 24.24 % และ 8.33 % ความเครียดหลักและความเครียดรองของทองแดง C1100 จะเพิ่มขึ้นเป็น 13.74 % และ 7.50 % ความเครียดหลักและความเครียดรองของทองเหลือง C2801 จะเพิ่มขึ้นเป็น 30.04 % และ 13.28 % Deep drawing process is a type of manufacturing process in sheet metal forming widely used in industrials fabrication such as automotive electronics and households industries. The purpose of this research was to study the deep drawing through the hydrodynamic process in deep drawing to improve the performance of metal sheet deep drawing. This research examined the influence of that affect the deep drawing with the hydrodynamics of nonferrous metals such as aluminum AA1100 copper C1100 and brass C2801 by using standard hydraulic oil TIS. 3 (ISO VG 68) Oil Pressure 3 levels 2.5, 5.0 and 7.5 Mpa. Levels of liquid pressure of 9.42, 16.62 and 35.69 N/mm2 which the influence of these variables will affect the work piece thickness strain on the work piece. Creases and tears of the work piece after forming. The experiment results revealed that the influence of drawing force and punch force on the work piece tend to increase when the fluid pressure and load on work price increase. Aluminum sheet AA1100 was unable to Forming both the deep drawing and hydrodynamics deep drawing. Copper C1100. Was unable to drawing. But after using hydrodynamic process Copper C1100 can be drawn up. The drawing sheet brass C2801 Was unable to drawing in condition of pressure 7.5MPa and 35.69 N/mm2. The strain between deep drawing and hydrodynamic deep drawing of aluminum AA1100 was major and minor strain will increased to 24.24% and 8.33% major and minor strain of copper C1100 will increase to 13.74% and 7.50% and strain of Brass C2801 major and minor strain will increased 30.04% and 13.28%. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2118 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - EN) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140697.pdf | การศึกษาอิทธิพลของโลหะแผ่นผสมในกระบวนการลากขึ้นรูปลึกด้วยกระบวนการไฮดรอไดนามิก | 5.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.