Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2289
Title: | พระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย : ความเชื่อหรืออำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ |
Other Titles: | The ceremonial Triyumpwai –Tripwai : belief or political power of the king |
Authors: | มิ่งกมล หงษาวงศ์ |
Keywords: | ตรียัมพวาย-ตรีปวาย โล้ชิงช้า พระราชพิธี Triyumpwai-Tripwai Swing ceremony the ceremonial |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย |
Abstract: | พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย เป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อการรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นเวลา 10 วันโดยมีความเชื่อว่า หลังจากที่พระพรหมสร้างโลกแล้ว เสร็จต้องมีการทดสอบความแข็งแรงของโลกที่ได้สร้างขึ้นด้วย พระพรหมจึงได้อัญเชิญพระอิศวรมาเป็นผู้ทดสอบความแข็งแรงของโลกด้วยการให้ยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้างหากเท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง ในอดีตพิธีโล้ชิงช้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีและมีการละเล่นกันมาโดยตลอดโดยได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้พระราชอำนาจของกษัตริย์ถูกจำกัดลง และพระราชทรัพย์น้อยลงด้วย จึงไม่สามารถที่จะนำพระราชทรัพย์มาใช้ในการจัดงานให้ยิ่งใหญ่ได้เหมือนทุกครั้ง ต่อมาพระราชพิธีนี้จึงถูกมองเป็นสิ่งล้าหลังของคนรุ่นใหม่ ไม่มีความทันสมัย และในที่สุดจึงถูกสั่งให้ยกเลิกไป พร้อมกับบทบาทอำนาจทางการเมืองที่ลดลงจากผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จัดขึ้นภายในเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เท่านั้น และเป็นการจำลองพิธีกรรมที่ลดขั้นตอนอันซับซ้อนให้สั้นลง เพื่อให้ง่ายขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน The ceremonial “Triyumpwai -Tripwai” a ritual in Hinduism - Hindu. The king Shiva visitation to Earth for 10 days with that faith. The Brahma created the world. Must have completed testing the strength of the world has created. Brahma, Shiva was invited as a test of strength for the world to stand in the way cross-legged. If the not foot Shiva’s Drop to show the world that made it strong. The canceled in the reign of King Rama VII 7 as a result of the change of government from absolute monarchy to democracy. Making it the prerogative of the king was limited. And the royal estate less. It can not be used on the royal estate, the organizers make great every time. The ceremony was viewed as lagging behind the new generation. No modernization And finally, he was ordered to cancel. Along with the political power reduced by the effect of changing the rule. Currently, the ceremonies are done within only Brahmin shrine. And ritual that is a replica of the complexity of the process shorter. To make it easier and consistent with the context of life in today’s society. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2289 |
ISSN: | 2351-0285 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - FA) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
หน้า 138-159.pdf | พระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย : ความเชื่อหรืออำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ | 406.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.