Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2324
Title: การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Perception and attitude of consumers towards goods purchasing through QR Code in Bangkok metropolitan area
Authors: พัชรียา สุตา
พิมพา หิรัญกิตติ
Keywords: QR Code
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจ
Abstract: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสื่อสารการตลาด ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code เก็บตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบ Independent Samples t-test ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่มีประชากร 2 กลุ่ม ใช้ F-test (ANOVA) ที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้ Pearson correlation ทดสอบความสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 26-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 15,000 - 25,000 บาท การรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่มีต่อ QR Code ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระดับมากกับด้านการใช้เครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับด้านแนวโน้มในอนาคตในการซื้อสินค้าผ่านระบบ QR Code นอกจากนั้น การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ การศึกษา อาชีพ แตกต่างกันมีการรับรู้การสื่อสาร การตลาดแตกต่างกัน ส่วนการรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ในทิศทางเดียวกัน
The purpose of this independent study is to study the perception of marketing communication and attitude of consumers towards goods purchasing through QR Code, by collecting 400 samples in Bangkok Metropolitan area. The statistics used in analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The statistics used in Independent Samples t-test, were used in testing of the difference between the mean having 2 groups of people. If there were more than 2 group of people, the researcher used F-test (ANOVA). Pearson correlation would be used to test the relation. The study result found that most of the respondents were female, ages were between 26-30 years, status : single, educational level: bachelor’s degree, occupation: private company employees, and having monthly income between 15,000-25,000 Baht. In the perception of marketing communication of consumers towards QR Code, most consumers paid attention to the aspect of using electronic communication network. In the attitude of consumers towards goods purchasing through QR Code, most consumers agreed with the aspect of tendency in the future in goods purchasing through QR Code system; Moreover, the testing hypothesis found that the difference in gender, education and occupation resulting in the difference of the perception of marketing communication, but the perception of marketing communication of consumers had the relation in the same direction with the attitude towards goods purchasing through QR Code.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2324
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
หน้า 21-27.pdfการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร259.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.