Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2359
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปวีณา ตีกา | |
dc.date.accessioned | 2015-08-05T06:34:47Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:46:35Z | - |
dc.date.available | 2015-08-05T06:34:47Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:46:35Z | - |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2359 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมพอลิเมอร์แคปซูลหุ้มเมทิลแอนทรานิเลทซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิด้วยเทคนิคการระเหยตัวทำละลายสำหรับเปลือกแคปซูลของพอลิเมอร์สายโซ่ตรง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบแขวนลอยสำหรับเปลือกพอลิเมอร์แบบร่างแห เพื่อประยุกต์ใช้ในงานที่แตกต่างกัน ในส่วนที่หนึ่ง เป็นการเตรียมแคปซูลของเปลือกพอลิเมอร์สายโซ่ตรง คือ พอลิคาร์บอเนตแคปซูลหุ้มเมทิลแอนทรานิเลทด้วยเทคนิคการระเหยตัวทำละลาย โดยใช้วิธีการเตรียมหยดสารอินทรีย์แบบดั้งเดิมและแบบกลับวัฎภาค พบว่า การเตรียมหยดสารอินทรีย์แบบดั้งเดิมโดยใช้อัตราส่วนพอลิคาร์บอเนตต่อเมทิลแอนทรานิเลท 2:1 ได้แคปซูลขนาดระดับไมโครเมตร มีการกระจายตัวที่กว้างและมีเปอร์เซ็นต์การบรรจุเมทิลแอนทรานิเลทประมาณ 26.66 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีการเตรียมหยดสารอินทรีย์แบบกลับวัฎภาค พอลิเมอร์แคปซูลที่เตรียมได้มีขนาดที่เล็กลงและใกล้เคียงระดับนาโนเมตร รวมทั้งมีการกระจายตัวที่แคบกว่าแบบดั้งเดิม โดยมีเปอร์เซ็นต์การบรรจุลดลงเพียงเล็กน้อยประมาณ 19.34 เปอร์เซ็นต์ จึงเลือกเทคนิคการเตรียมหยดแบบกลับวัฎภาคในการเตรียมพอลิเมอร์แคปซูล อย่างไรก็ตาม พอลิเมอร์แคปซูลที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคการระเหยตัวทำละลายนี้ เปลือกจะมีความแข็งแรงต่ำ จึงเหมาะกับงานที่ไม่ใช้ความแข็งแรงสูงมากนัก สำหรับงานที่สองเป็นการเตรียมพอลิ(เมทิลเมทาคริเลต-โค-เอทิลีนไกลคอลไดเมทาคริเลต) แคปซูล ซึ่งเป็นพอลิเมอร์โครงร่างแห เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเปลือกของพอลิเมอร์โดยการสังเคราะห์แบบแขวนลอยเพื่อนำไปใช้ในงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงสูง จากผลการทดลองเมื่อใช้อัตราส่วนพอลิ(เมทิลเมทาคริเลต-โค-เอทิลีนไกลคอลไดเมทาคริเลต) ต่อเมทิลแอนทรานิเลท เป็น 1:1 แคปซูลที่เตรียมได้มีรูปร่างเป็นทรงกลม มีเปอร์เซ็นต์การบรรจุประมาณ 23.41 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นได้ทำการศึกษาการปลดปล่อยเมทิลแอนทรานิเลทในพอลิเมอร์แคปซูลที่ระยะเวลาต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง พบว่า เมื่อเวลาผ่านไปเมทิลแอนทรานิเลทที่อยู่ในพอลิเมอร์แคปซูลมีแนวโน้มค่อยๆลดลงในระยะเวลาสองเดือน ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าสามารถเตรียมพอลิเมอร์แคปซูลหุ้มเมทิลแอนทรานิเลทได้ทั้งสองเทคนิคเพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในงานที่แตกต่างกัน โดยพอลิเมอร์แคปซูลที่เตรียมได้สามารถควบคุมการปลดปล่อยเมทิลแอนทรานิเลทได้ | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาเคมีนวัตกรรม | en_US |
dc.subject | พอลิเมอร์แคปซูล | en_US |
dc.subject | เมทิลแอนทรานิเลท | en_US |
dc.subject | การระเหยตัวทาละลาย | en_US |
dc.subject | การสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบแขวนลอย | en_US |
dc.title | การเตรียมพอลิเมอร์แคปซูลหุ้มน้ามันหอมระเหยกลิ่นมะลิ | en_US |
dc.title.alternative | Preparation of polymer capsule encapsulated jasmine oil | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146038.pdf | 9.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.