Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2437
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพฑูรย์ ปะการะพัง
dc.contributor.authorปัทมา เจริญพร
dc.date.accessioned2015-09-02T03:43:44Z
dc.date.accessioned2020-09-24T07:35:55Z-
dc.date.available2015-09-02T03:43:44Z
dc.date.available2020-09-24T07:35:55Z-
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2437-
dc.description.abstractการศึกษานี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โดยการนำเทคนิคลีนมาใช้กับการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถทำการผลิตได้อย่างราบเรียบต่อเนื่อง เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์จากกระบวนการผลิตเพิ่มมากขึ้น จากกรณีศึกษากระบวนการการผลิตอิฐบล็อกหรือคอนกรีตบล็อก พบว่า มีปัญหาในขั้นตอนการผลิตในส่วนของกระบวนการผลิตที่ไม่สามารถทำการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจุดที่เป็นคอขวดภายในกระบวนการผลิตในขั้นตอนของการอัดขึ้นรูปและการขาดทักษะของพนักงาน ทำให้กระบวนการผลิตไม่มีความราบเรียบ และทำให้ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตจากกระบวนการผลิตได้ ดังนั้น การค้นคว้าอิสระนี้จึงได้กำหนดให้มีการแสดงอัตราส่วนผสมที่ชัดเจนในขั้นตอนการผลิต ในส่วนของการผสมวัตถุดิบขั้นตอนที่หนึ่ง โดยได้ทำการปรับเรียบกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคของลีน และทำการฝึกอบรมความรู้ในเรื่องของกระบวนการทำงานให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตให้ได้ตาม เทคนิคลีน ผลจากการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์จากการผลิต จาก 96.5 เป็น 99.49 เปอร์เซ็นต์ โดยเพิ่มขึ้นจากเดิม 2.99 เปอร์เซ็นต์ และสามารถผลิตผลิตภัณฑ์อิฐบล็อกได้เพิ่มขึ้นจากเดิม จาก 19,536 ชิ้น เป็น 22,885 ชิ้น เพิ่มขึ้น 3,349 คิดเป็น 17.14 เปอร์เซ็นต์en_US
dc.description.abstractThe objectives of this independent study were to increase the efficiency of production process using Lean technique in order to pursue a smooth and continuous production process, and to increase the production. From the case study of concrete block production process, the discontinuity in the production process was found to be a bottleneck in the pressing process and lack of employee skill, which lead to the inability to increase production. The results from this study lead to display the exact mixture of compounds in the process of mixing raw materials in step1, leveled production using Lean technique, and continuous work process training of the employees. The results from the process improvement found that the production was increased from 96.5% to 99.49%, which was a 2.99% efficiency increase. The concrete blocks production was increased from 19,536 pieces to 22,885 pieces, which was an increase of 3,349 pieces or 17.4%.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะบริหารธุรกิจen_US
dc.subjectเทคนิคของลีนen_US
dc.subjectประสิทธิภาพen_US
dc.subjectคอนกรีตบล็อกen_US
dc.subjectlean techniqueen_US
dc.subjectefficiencyen_US
dc.subjectconcrete blocken_US
dc.titleการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคของลีน : กรณีศึกษา กระบวนการการผลิตอิฐบล็อกหรือคอนกรีตบล็อกen_US
dc.title.alternativeIncreasing efficiency of production process using Lean Technique: a case study of concrete block production processen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article - BUS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
หน้า 459-463.pdfการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคนิคของลีน : กรณีศึกษา กระบวนการการผลิตอิฐบล็อกหรือคอนกรีตบล็อก189.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.