Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2523
Title: บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: The school administrators' roles on learner characteristic development toward world-class standard school under the secondary educational service area office 4 Pathumthani Province
Authors: พงษ์อิศรา ประหยัดทรัพย์
Keywords: ผู้บริหารสถานศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี จำนวน 265 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิชนิดที่เป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 2) การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed to study 1) the level of the school administrators’ roles, 2) the level of the learner characteristic development toward World-Class Standard School, 3) the relationship between the school administrators’ roles and the learner characteristic development toward World- Class Standard School, and 4) the effect of the school administrators’ roles on the learner characteristic development toward World-Class Standard School under the Secondary Educational Service Area Office 4 Pathumthani province. The sample in this study was composed of 265 teachers in World-Class Standard Schools under the Secondary Educational Service Area Office 4 Pathumthani province. The research instrument used for collecting data was Likert five-point scale questionnaires. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient to determine the relationship. The results showed that 1) the school administrators’ roles as a whole and on all aspects was at the high level, 2) the learner characteristic development toward World-Class Standard School as a whole and on all aspects was at the high level, 3) the relationship between the school administrators’ roles and the learner characteristic development toward World-Class Standard School was at .01 level of significance, and 4) the effect of school administrators’ roles on the learner characteristic development toward World-Class Standard School under the Secondary Educational Service Area Office 4 Pathumthani province was at .05 level of significance.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2523
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146496.pdfบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.