Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2543
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: Development of art activities sets for grade 4 students: an application of torrance's throry of creativities
Authors: เบญจมาศ สุภาทอน
Keywords: ชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
application of torrance’s theory of creativities
grade 4
Issue Date: 2555
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎี ความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะ ตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากร คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดแค ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 จานวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิด สร้างสรรค์ของทอแรนซ์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปภาพแบบ A ของทอแรนซ์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ความพึงพอใจโดย หาค่าพารามิเตอร์ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้ t-test Dependent Samples ผลการศึกษาพบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ 86.62/89.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this research were to 1) develop an art activity set for Grade 4 students based on Torrance’s theory of Creativity 2) search into students’ achievement before and after the employment of the series of art activities, and 3) explore students’ satisfaction towards the use of the designed activities. Samples were 18 students studying in Grade 4 at Banladkae School. The research instruments were the series of art activities based on Torrance’s theory of Creativity, a students’ achievement test, a creativity test in the form of pictures based on Torrance’s theory, and a students’ satisfaction survey. It was found that the effectiveness of the art activity set was higher than the standard sets. The post-test scores were significantly higher than the post-test scores at .05. The students’ satisfaction towards the art activities was at the ‘high’ level.
Description: การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2543
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-142355.pdfการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะตามทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 418.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.