Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2599
Title: | อัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ในสปาร่วมสมัย |
Other Titles: | Thai massage identity to product design contemporary spa |
Authors: | อรัญ วานิชกร |
Keywords: | การออกแบบผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ หัตถเวชกรรม traditional massage identity contemporary spa product design |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะศิลปกรรมศาสตร์. ภาควิชาการออกแบบทัศนศิลป์ |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษารวบรวมอัตลักษณ์ของการนวดไทย การวิเคราะห์กลยุทธ์ การนำเสนอข้อกำหนดที่เหมาะสมกับการออกแบบ และสังเคราะห์กลยุทธ์สู่การออกแบบสำหรับสร้างฐานข้อมูลทางด้านภาพลักษณ์ของการนวดไทย เพื่อต่อยอดสู่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสปาไทยจากอัตลักษณ์การนวดไทย การสร้างข้อกำหนดทั้งรูปธรรมแบบตะวันตก และนามธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณค่า
ของการออกแบบในแบบตะวันออก โดยใช้อัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ในสปาร่วมสมัยประกอบด้วย เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง โดยออกแบบผลิตภัณฑ์จำนวน 10 รูปแบบ ได้แก่ เก้าอี้นั่งพักคอย โคมไฟ ฉากกั้น ชุดชงชาสมุนไพร ชั้นวางยาสมุนไพรไทยโต๊ะกลาง ถาด ที่ตั้งกำยาน หรือที่ตั้งธูปหอมอโรมา ภาชนะและศิลปะตกแต่งผนัง จากนั้นคัดเลือกจำนวน 2 รูปแบบเพื่อผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตั้งกำยาน หรือที่ตั้งธูปหอมอโรมา และรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุดชงชาสมุนไพรและคัดเลือก 2 รูปแบบ เพื่อยื่นจดสิทธิบัตรให้กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้แก่ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตั้งกำยาน หรือที่ตั้งธูปหอมอโรมา รูปแบบเก้าอี้นั่งพักคอย
จากการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้พบว่า ข้อกำหนดฐานข้อมูล อัตลักษณ์ การใช้อัตลักษณ์ หัตถเวชกรรมไทยช่วยให้จัดการออกแบบได้ง่ายขึ้น โดยนักออกแบบสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และอัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในการดูแลสุขภาพและความงามอย่างไทย เมื่อนำมาบูรณาการกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ในสปา สามารถทำได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับการออกแบบตกแต่งพื้นที่ในรูปลักษณ์แบบไทยหรือเรือนไทย และยังช่วยสร้างคุณค่า เอกภาพและสร้างการจดจำให้เกิดขึ้นกับผู้รับบริการได้เป็นอย่างดี This research aimed to explore, study, collect data and then analyze the strategy and present the principle of the design. Lastly, strategies synthesized to create the identity of Thai Traditional Massage to extend and develop the product design in Thai Spa. This research was to establish specifications both tangible and intangible western style which is a part of creating the value of the design in oriental style and use Thai massage identity to the product design in spa including furniture and decorations by 10 perspective design as follows: waiting chair, lamp, partition, herbal tea maker set, Thai herbal medical shelf, coffee table, tray, pottery for frankincense incense aroma, container and painting wall. Next, select 2 work pieces by 2 experts to submit the patent for Srinakharinwirot University proprietary such as pottery for frankincense incense aroma and waiting chair. Then, select 2 work pieces to create prototype such as pottery for frankincense incense aroma and herbal tea set. It is found that the identity on database by using Thai traditional massage design creating the design more easily. The designer could work as a team quickly and efficiently. Thai Massage, the main activity for health and beauty, took part in the integration of product design in the Contemporary Spa and be appropriately harmonized with the interior space in the house looks like Thai style or Thai house. It also creates value, unity and builds the pictures in memory of the client as well. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2599 |
ISSN: | 2351-0285 |
Appears in Collections: | บทความ (Article - FA) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-FA-2558, 171-206.pdf | อัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ในสปาร่วมสมัย | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.