Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจาตุรงค์ เจริญนำ
dc.date.accessioned2016-06-20T02:36:33Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:48:58Z-
dc.date.available2016-06-20T02:36:33Z
dc.date.available2020-09-24T04:48:58Z-
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2673-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท ( SEAT) กับคุณลักษณะของครูผู้สอน และ 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ในปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นหน่วยในการแบ่งชั้นได้ จำนวน 302 คน และผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งหมด 22 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้ค่าทีกับค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) อยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) มีผลดังต่อไปนี้ ลักษณะของโรงเรียนจัดการเรียนร่วม การอบรม/สัมมนา และขนาดของสถานศึกษามีความแตกต่างกับสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์ในการสอนเด็กพิการเรียนร่วม พบว่า ไม่แตกต่างกับสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) 3) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของผู้บริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วมนั้นมีทั้งหมด 5 แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานen_US
dc.description.abstractThis research aims to 1) study situations of SEAT implementation in the mainstreaming school administrations 2) compare the circumstances of SEAT framework of mainstreaming school administrations with characteristics of the teachers and 3) study the categories of guided development mainstreaming education program in offices of the educational school district number nine. The research sample consisted of 302 teachers and 22 were school administrators of school district number nine in the academic year of 2014. The participants were selected through a stratified random sampling technique which focused on school size. Questionnaires and interviews were the instruments used to analyze the percentage, average and standard deviation of the sample comparing the values of the t-test and f-test, respectively. The research findings were as follows: 1) a study on situations of SEAT framework of mainstreaming school administrations were middle level; 2) a comparative analysis on situations of SEAT framework of mainstreaming for school administrators showed a significantly different characteristics of inclusive education, workshops or seminars and the size of the schools, and the experience in teaching disabled child of inclusive education showed no significant difference at the statistical level of .05; and 3) administrators of the schools were using five guided development program on their mainstream education.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT)en_US
dc.titleการศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9en_US
dc.title.alternativeA study on situations of seat framework administrations and guided development of main streaming school the basic education institutions office of education school district 9en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-149736.pdfการศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 94.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.