Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2674
Title: | การพัฒนาหลักสูตรการควบคุมน้ำหนัก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี |
Other Titles: | Weight control curriculum development for Mattayomsuksa 1 students Depsirinklongsipsam Pathumthani School |
Authors: | พิชยา ขันตีเรือง |
Keywords: | การพัฒนาหลักสูตร การควบคุมนํ้าหนัก ภาวะนํ้าหนักเกิน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการควบคุมนํ้าหนักสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกายของนักเรียนที่เข้าเรียนหลักสูตรการควบคุมนํ้าหนักหลังเรียนกับก่อนเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกายของนักเรียนที่เข้าเรียนหลักสูตรการควบคุมนํ้าหนักหลังเรียนกับก่อนเรียน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หลังเรียนกับก่อนเรียน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี ที่มีนํ้าหนักเกินมาตรฐานและสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร 2) แบบทดสอบความรู้ด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกาย มีค่าความยากง่าย 0.70 และค่าอำนาจจำแนก 0.24 และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกายมีค่าความเชื่อมั่น 0.70 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบหลักสูตรคือ หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตรสาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.93–0.96 2) ความรู้ด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกายของนักเรียนหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและด้านการออกกำลังกายของนักเรียนหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของนักเรียนหลังเรียนดีกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this research were to 1) develop the weight control curriculum for mathayomsuksa 1 students, Depsirinklongsipsam Pathumthani School, 2) compare the pre-test and post-test of the students, 3) compare the students habits before and after having studied food consumption and exercise, and 4) compare the body mass index (BMI) both before and after having studied the weight control curriculum. The samples of the research were 30 overweight students of Debsirinklongsibsam Pathumthani School who volunteered in this research. Research instruments were 1) curriculum evaluation form, 2) achievement test on food consumption and exercise with the difficulty index at 0.70 and the discriminative index at 0.24, and 3) a questionnaire on food consumption and exercise with the reliability ranged between 0.70 and 0.87. Mean (𝑥𝑥̅), standard deviation (S.D.) and dependent samples t-test were used for data analysis. The findings showed that 1) the curriculum consisted of the importance of the problem, objectives, goals, content, teaching activities, instructional media and assessment with evaluation index. corresponding (IOC) of the curriculum between 0.93-0.96, 2) the post-test on food consumption and exercise was statistically significant higher difference than the pre-test at the levels of .01, 3) the students’ habits evaluation on food consumption and exercise after having studied was statistically significant higher difference than the before at the levels of .01, and 4) the body mass index (BMI) after having studied was statistically significant higher difference than the before at the levels of .01. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2674 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-149737.pdf | การพัฒนาหลักสูตรการควบคุมน้ำหนัก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี | 6.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.