Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2682
Title: การประยุกต์ใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ในการระบุสายพันธุ์องุ่นที่ใช้ทำไวน์ในประเทศไทย
Other Titles: Application of microsatellite markers for identification of wine grape varieties in Thailand
Authors: อลงกรณ์ ศรีพลแท่น
Keywords: องุ่น
องุ่น -- พันธุ์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร. สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช
Abstract: จากการศึกษาในครั้งนี้ได้นา เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ มาใช้ตรวจสอบความแตกต่างทางพันธุกรรมขององุ่นทา ไวน์ จำนวน 29 ตัวอย่างพันธุ์ จากการทำลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้ microsatellite primer 18 คู่ พบว่า ให้แถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างกัน 133 แถบ ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 3 ถึง 12 แถบ เฉลี่ยให้ความแตกต่าง ของอัลลีล 7.4 แบบต่อไพรเมอร์ ได้ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด 522 ข้อมูล เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี UPGMA โดยใช้ค่าดัชนีความเหมือน พบว่า สามารถแบ่งพันธุ์องุ่นทำไวน์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ที่มีความ แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยระยะห่างทางพันธุกรรมของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม มากกว่า 0.9 ผลการศึกษาความหลากหลายพันธุกรรมขององุ่นทา ไวน์ที่ปลูกในประเทศไทยกับต่างประเทศพบว่า องุ่นที่นิยมนำมาทำไวน์ทั้ง 5 พันธุ์ คือพันธุ์ Shiraz, Cabernet Sauvignon, Chenin Blanc, Colombard และ Tempranillo มีพันธุกรรมที่เหมือนกันทั้งพันธุ์ที่ปลูกในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้ microsatellite primer 18 คู่ นี้ จากการศึกษาความหลากหลายพันธุกรรมขององุ่นในไวน์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลพบว่า วิธีการสกัดดีเอ็นเอจากน้ำไวน์ด้วยชุดสกัดดีเอ็นเอสำเร็จรูปและการสกัดดีเอ็นเอด้วยวิธี CTAB ไม่มีความแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์ความหลากหลายและความใกล้ชิดทางพันธุกรรมขององุ่นจากไวน์ 9 ตัวอย่าง โดยใช้ microsatellite primer 18 คู่ พบว่า สามารถตรวจสอบและจำแนกพันธุ์องุ่นที่นำมาใช้ทำไวน์ได้ ดังนั้นวิธีนี้จึงสามารถนำมาใช้ในการควบคุมคุณภาพไวน์ได้
This study examined microsatellite markers to determine genetic polymorphism in wine grape varieties. DNA fingerprinting of leaf samples from 29 grape varieties using 18 primer pairs gave 133 polymorphic alleles ranging in sizes between 3-12 bands. The average polymorphic allele size was 7.4 bands per primer. A total of 522 genetic data were obtained. Twenty nine samples of wine grape varieties were clustered into two major groups using UPGMA method based on genetic similarity matrix with genetic difference of more than 0.9. The resulting genetic diversity data of wine grape varieties grown in Thailand were compared with those reported overseas. Five wine grape cultivars typically grown for winemaking in Thailand, namely Shiraz, Cabernet Sauvignon, Chenin Blanc, Colombard and Tempranillo showed identical genetic fingerprints as those reported in the literature by the 18 primer pairs used in this work. There were no differences in the results from genomic DNA extraction from wine by DNA extraction kit and DNA extraction method by CTAB. The genetic diversity of grape varieties from 9 wine samples using 18 primer pairs could identify grape cultivars and could be used in quality control of wine.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2682
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - AGR)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-147724.pdfการประยุกต์ใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ในการระบุสายพันธุ์องุ่นที่ใช้ทำไวน์ในประเทศไทย2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.