Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2687
Title: หัตถกรรมจักสาน : การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิตโดยการมีส่วนร่วมชุมชน
Other Titles: Wicker work handicraft : A study of indigenous knowledge of production by community participation
Authors: บุญเรือง สมประจบ
Keywords: ภูมิปัญญา
จักสาน
หัตถกรรม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Abstract: งานหัตถกรรมจักสานเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาเกี่ยวกับนำวัสดุจากธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างผสมกลมกลืน ตลอดจนภูมิปัญญาที่ปรากฏชัดในกระบวนการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นำเอารูปแบบทางวัฒนธรรมพื้นบ้านกับวิธีคิดเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอย กลายเป็นรูปแบบที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างชัดเจน ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมจักสานพบว่า ด้านประเภทของงานจักสานเป็นงานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน ด้านลักษณะของประโยชน์ใช้สอยพบว่า ผลิตเป็นเครื่องใช้สอยและของประดับตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือน ด้านรูปแบบพบว่า ผลิตเป็นกระเป๋า ตะกร้า กล่อง เครื่องใช้ และออกแบบตามความต้องการของลูกค้า ด้านลวดลายพบว่า เป็นลายขัด ลายดอกพิกุล ลายรวงข้าว ลายขิด และลายมัดย้อม เป็นต้น ด้านวัสดุที่พบว่า ใช้ไม้ไผ่สีสุกและผักตบชวา ด้านเครื่องมือที่ใช้คือ มีดเหลาตอก เรียด และหุ่นไม้หรือโฟม ด้านการบำรุงรักษาพบว่า ช่างจักสานจะทำความสะอาดและจัดเก็บดูแล มีดให้มีความคมอยู่เสมอโดยเฉพาะมีดเหลาตอก ด้านวิธีการจักสานพบว่า เริ่มจากวิธีการจักตอก การสานขึ้นรูป ใช้กับหุ่นไม้หรือหุ่นโฟมเสร็จแล้วจะนำไปตากแดด 1 วัน เพื่อไล่ความชื้นออก ก่อนนำไปเคลือบเงา และด้านการอนุรักษ์และการพัฒนางานจักสานให้ยั่งยืนพบว่า ควรรักษารูปแบบผลงานเก่าๆที่มีเอกลักษณ์ไว้ ให้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือการใช้เศษวัสดุที่เหลือใช้มาสร้างงาน ถ่ายทอดวิธีการงานจักสานให้กับลูกหลานและผู้สนใจ
Wickerwork handicraft reflects profound values of Thai history, culture and indigenous knowledge of Thai people inharmoniously blending the use of natural materials in their way of life. In addition, the production process and product design reflected the combination of both local culture and usability concept thus providing clear indication of Thai local knowledge and identity. The results of this study were a) the production process exemplified the adequate knowledge of the workers, b) the type of work was for daily basis, c) the ornamental design and furniture were for utility purposes, d) the formats of the design were for bag, basket, box and utensil along with its customized design, e) the design patterns were khud, dokpikul, ruongkhao, khid and mudyomand alike, f) the materials were sisuk bamboo and water hyacinth, g) the tools used were knife and wood/foam models, h) the maintenance was done by experts to clean and keep the knife sharp, i) the wickerwork processes started from preparing bamboo strips, forming with wood or foam model and drying under sun for 1 whole day before waxing, and j) the conservation and development processes were done by conserving the old format, developing new design due to customer’s need, promoting local or recycled materials, transferring wicker work process to successor or those who were interested in.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2687
ISSN: 2351-0285
Appears in Collections:บทความ (Article - FA)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-FA-2559, 2-23.pdfหัตถกรรมจักสาน : การศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการผลิตโดยการมีส่วนร่วมชุมชน7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.