Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2738
Title: แพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำและการประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำในพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: Phytoplankton and Periphyton and Their Application to Monitoring Water Quality in Lotus Museum, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: เบญจมาภรณ์ รุจิตร
Keywords: แพลงก์ตอนพืช
คุณภาพน้ำ--การจัดการ
พืชน้ำ -- วิจัย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามคุณภาพน้ำ และศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำในสระบัวพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยเก็บตัวอย่างน้ำแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำทุกเดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย) ในบริเวณ 3 จุดเก็บตัวอย่าง คือ จุดเก็บตัวอย่างที่ 1 สระบัวขนาดใหญ่ จุดเก็บตัวอย่างที่ 2 สระบัว ขนาดกลาง และจุดเก็บตัวอย่างที่ 3 สระบัวขนาดเล็ก ปัจจัยคุณภาพน้ำที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพบางประการ ศึกษาปริมาตรชีวภาพของ แพลงก์ตอนพืช และสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำเพื่อนามาเป็นข้อมูลในการประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำในสระบัวพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงบัวพันธุ์ต่างๆในพิพิธภัณฑ์บัวต่อไป ผลการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชในจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 พบ แพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 ดิวิชัน 49 สปีซีส์ สาหร่ายยึดเกาะบัวทั้งหมด 6 ดิวิชัน 36 สปีซีส์ และสาหร่ายยึดเกาะสาหร่ายหางกระรอกทั้งหมด 6 ดิวิชัน 44 สปีซีส์ จุดเก็บตัวอย่างที่ 2 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 ดิวิชัน 56 สปีซีส์ สาหร่ายยึดเกาะบัวทั้งหมด 6 ดิวิชัน 47 สปีซีส์ และสาหร่ายยึดเกาะสาหร่ายหางกระรอกทั้งหมด 6 ดิวิชัน 45 สปีซีส์ ส่วนจุดเก็บตัวอย่างที่ 3 พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 7 ดิวิชัน 58 สปีซีส์ สาหร่ายยึดเกาะบัวทั้งหมด 6 ดิวิชัน 51 สปีซีส์ และพบสาหร่ายยึดเกาะสาหร่ายหางกระรอกทั้งหมด 7 ดิวิชัน 44 สปีซีส์ โดยพบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Cyclotella meneghiniana Kützing, Lepocinclis acus (O.F. Müller) Marin & Melkonian, Gymnodinium sp., Peridinium sp., Closterium sp. และ Botryococcus braunii Kützing สาหร่ายยึดเกาะบัวชนิดเด่น คือ Pseudanabaena limnetica (Lemmemann) Komárek, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Nitzschia palea (Kützing) Smith, Cyclotella meneghiniana Kützing, Pseudanabaena galeata Böcher, Chlorella sp. และ Gymnodinium sp. สาหร่ายยึดเกาะสาหร่ายหางกระรอกที่เป็นชนิดเด่น คือ Pseudanabaena limnetica (Lemmemann) Komárek, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Nitzschia palea (Kützing) Smith, Chlorella sp. และ Pseudanabaena sp.1 และแหล่งที่อยู่อาศัย ที่แตกต่างกันของสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำ ไม่ส่งผลต่อปริมาณเซลล์ของสาหร่ายที่พบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ ระหว่างบ่อน้ำ ทั้ง 3 จุดเก็บตัวอย่าง ที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยตลอดการวิจัยในเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 พบว่ามีระดับคุณภาพน้ำ ที่มีสารอาหารปานกลางถึงสูง ทั้ง 3 จุดเก็บตัวอย่าง ซึ่งปริมาณสารอาหารเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบัว แต่หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามีระดับคุณภาพน้ำที่มีสารอาหารสูง โดยปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน มีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพในแหล่งน้ำ ผิวดินประเภทที่ 4 ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของบัวชนิดต่างๆ เนื่องจากทำให้ลำต้น เหง้า ใบของบัวเน่าเสีย และตายในที่สุด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ตะไคร่น้ำ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุทำให้น้ำในบ่อบัวเป็นสีเขียว แสงส่องไม่ถึง ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่งผลให้ต้นบัวเน่าเสียได้รวมทั้งตะไคร่น้ำ ยังพันยอดบัว ใบบัวจนไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาบนผิวน้ำ ได้ แต่หลังจากเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป ระดับสารอาหารในน้ำลดลง อุณหภูมิของน้ำและค่าความเป็นกรด-ด่างพบว่ามีค่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบัว
The objectives of this research were to monitor water quality and study the phytoplankton biodiversity and periphyton in the vicinity of the Lotus Museum, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Water samples, phytoplankton and periphyton were collected monthly from May 2011 to May 2012 (during which flood disaster occurred in October 2011). Samples were collected from 3 sampling sites: Sampling site 1 – the large-size lotus pond, Sampling site 2 – the medium-size lotus pond, and Sampling site 3 – the small-size lotus pond. The physico-chemical and biological parameters, biovolume of phytoplankton and periphyton were applied to monitor water quality in the Lotus Museum and improved the water quality to be suitable for the lotus growth. Concerning the study of phytoplankton and periphyton biodiversity, 49 species in 7 divisions of phytoplankton, 39 species in 6 divisions of periphyton that attached to the lotus, and 44 species in 6 divisions of periphyton that attached to Hydrilla vercillata were found in Sampling site 1. 54 species in 6 divisions of phytoplankton, 47 species in 6 divisions of periphyton that attached to the lotus and 45 species in 6 divisions of periphyton that attached to Hydrilla vercillata were found in Sampling site 2, while fifty-eight species in 7 divisions of phytoplankton, 39 species in 6 divisions of periphyton that attached to the lotus and 44 species in 7 divisions of periphyton that attached to Hydrilla vercillata were found in Sampling site 3. The dominant species of phytoplankton were: Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Cyclotella meneghiniana Kützing, Lepocinclis acus (O.F. Müller) Marin & Melkonian, Gymnodinium sp., Peridinium sp., Closterium sp. and Botryococcus braunii Kützing. The dominant species of periphytic algae that attached to the Lotus were: Pseudanabaena limnetica (Lemmemann) Komárek, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Nitzschia palea (Kützing) Smith, Cyclotella meneghiniana Kützing, Pseudanabaena galeata Böcher, Chlorella sp. and Gymnodinium sp. and periphyton that attached to Hydrilla vercillata the dominant species of periphyton that attached to the lotus were Pseudanabaena limnetica (Lemmemann) Komárek, Cylindrospermopsis raciborskii (Wolosz) Seenayya & Subba Raju, Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Nitzschia palea (Kützing) Smith, Chlorella sp. And Pseudanabaena sp.1. It was also found that the differential habitat of aquatic plants did not affect the amount of algae cells at the statistically significant level of 0.05. The comparison of water quality from the three Sampling sites of the lotus pond was investigated. It was found that the water quality of the three sites was Meso-Eutrophic Status from May to September 2011, and the nutrients were suitable for the growth of the lotus. However, after the flood disaster from November 2011 to March 2012, the water quality was Eutrophic Status and the amount of ammonia – nitrogen was higher than the standard amount determined by the Thai Government for Surface Water (classified as the fourth category), which was not suitable for the growth of various kinds of lotuses causing the stem, the root and the leaf of the lotus to be rotten and dead. Furthermore, this status resulted in the rapid growth of algae and eutrophication that hindered light penetration and photosynthesis affecting the lotus to be rotten. The lotuses were also wrapped around by the filaments of algae and could not grow to the water surface. After April 2012, nutrient levels decreased. The temperature of the water and pH were in the range appropriate for the growth of the lotus.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2738
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-145045.pdfแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายยึดเกาะพืชน้ำและการประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำในพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.