Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2744
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสายฝน บูชา
dc.date.accessioned2017-04-10T04:45:28Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:42:18Z-
dc.date.available2017-04-10T04:45:28Z
dc.date.available2020-09-24T04:42:18Z-
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2744-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง ภาพลักษณ์ของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอ ลาดหลุมแก้ว ในสายตาของประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลาดหลุมแก้วในสายตาของผู้ใช้บริการ ในปัจจุบัน ศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่พึงประสงค์ในอนาคต รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลาดหลุมแก้ว 5 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุด ด้านบุคลากร ด้านการบริการ ด้านทรัพยากร สารนิเทศและด้านอาคารและสถานที่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอลาดหลุมแก้ว จานวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารการให้บริการของห้องสมุด จากแหล่งสารสนเทศประเภทป้ายประชาสัมพันธ์หน้าห้องสมุดมากที่สุด โดยมีความถี่ที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รองลงมา คือ แหล่งสารสนเทศประเภทเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต โดยมีความถี่ ที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร 4 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ และมีความถี่ในการรับข้อมูลข่าวสารการให้บริการของห้องสมุด จากแหล่งสารสนเทศประเภทโทรทัศน์ น้อยที่สุด เฉลี่ย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ภาพลักษณ์ห้องสมุด ทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยรับรู้ภาพลักษณ์ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านอาคารและสถานที่ รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ด้านการบริการและด้านนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุด ในขณะที่ด้านที่รับรู้ภาพลักษณ์ ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านทรัพยากรสารนิเทศ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการภาพลักษณ์ห้องสมุดที่พึงประสงค์ในอนาคต ทั้ง 5 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทรัพยากร สารนิเทศ รองลงมา คือ ด้านนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดและด้านอาคารและสถานที่ ในขณะที่ด้านที่มีความต้องการและมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากรและด้านการบริการ 4) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสมุดโดยรวม อยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ห้องสมุดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุด รองลงมา คือ ด้านอาคารและสถานที่ของห้องสมุด ด้านการบริการของห้องสมุด และด้านทรัพยากรสารนิเทศห้องสมุด ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากรห้องสมุดen_US
dc.description.abstractThe study in “The Image of "Chalermrajakumari" Public Library in Lat Lum Kaeo Subdistrict” in people view has an objective of studying the perception in the image of "Chalermrajakumari" public library in Lat Lum Kaeo subdistrict of the library current service users, and studying what the users want in the future. In addition, this research will study the opinion in 5 factors supporting the image of "Chalermrajakumari" public library in Lat Lum Kaeo subdistrict which are the library’ policy and operation, personnel, service, information resource, and building. This research is the survey research in which the research sample is 400 people using the Chalermrajakumari public library service. Questionnaires are used as a tools to collect data. Descriptive Statistics is used to analyze the collected data. The research found that 1) The research sample mostly receives the library service information from the information board in front of the library with the frequency of 2-3 times a week. Next is from the internet with the frequency of at least 4 times a week. The least source of information is from television roughly once a week. 2) The research sample perception in the 5 factors of the library image is at the high level in general in which the highest average is the building. Next are personnel, service, and policy and operation, respectively while information resource has the lowest perception on average. 3) The research sample demands for the 5 factors of the library image they want in the future at the high level on average. What they want the most is the information resource. Then are the policy and operation, and the building, respectively whereas the personnel and the service are the least in demand and on average, respectively. 4) The research sample’s opinion about the factors supporting the library image is at a high level on average. The factor having the highest average is the policy and operation. Next are the building, the service, and the information resource, respectively while the personnel has the lowest score on average.
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะศิลปะศาสตร์. สาขามนุษยศาสตร์.en_US
dc.subjectห้องสมุดประชาชนen_US
dc.subjectภาพลักษณ์en_US
dc.titleภาพลักษณ์ของห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”อำเภอลาดหลุมแก้ว ในสายตาของประชาชนen_US
dc.title.alternativeThe image of "Chalermrajakumari" public library in Lat Lum Kaeo subdistricten_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-151467.pdfThe image of "Chalermrajakumari" public library in Lat Lum Kaeo subdistrict3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.