Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2776
Title: | หนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | Discovery E-book game for developing a creation thinking for Prathomsuksa 6 students |
Authors: | อนุชา ภาผล |
Keywords: | หนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้แบบค้นพบ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของหนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้หนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบ 3) หาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนโชคชัยรังสิต ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (SimpleRandom Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย หนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบ
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ TCT-DP โดยสถิติที่ใช้ในการในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.และการทดสอบค่าที t-test Depended ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของหนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย) มีค่าเท่ากับ 4.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานS.D. มีค่าเท่ากับ 0.45 มีคุณภาพระดับดี 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้หนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบวัดความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหนังสือเกมอิเล็กทรอนิกส์แบบค้นพบเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย) มีค่าเท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. มีค่าเท่ากับ 0.30 มีคุณภาพระดับดี This research aims to 1) find out the quality of the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students, 2) compare the students’ creative thinking before and after the students learned through the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students, and 3) identify the students’ satisfaction on learning through the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students. The samples in this study were 30 Prathomsuksa 6 students at Chokchai Rangsit School, under Pathum Thani Primary Educational Service Area office 2. The instruments used for collecting data were the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students, the TCT-DP creative thinking tests, and the questionnaires on students’ satisfaction on learning through the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students. The statistical devices used to analyze the data were average score (mean), standard deviation, and dependent t-test. The results of the study revealed that the quality of the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students had the average of 4.10 and the standard deviation of 0.45 which was at a high standard of quality. The students’ creative thinking after learning through the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students was significantly higher than before learning through it at the 0.05 level of significance. The students’ satisfaction on learning through the Discovery E-book Game for Prathomsuksa 6 students gained the average of 4.39 and the standard deviation of 0.30 which was at a high level. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2776 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-151635.pdf | Discovery E-book game for developing a creation thinking for Prathomsuksa 6 students | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.