Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/2778
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กุลชญา สิ่วหงวน | |
dc.date.accessioned | 2017-04-21T08:41:24Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:41:09Z | - |
dc.date.available | 2017-04-21T08:41:24Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:41:09Z | - |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/2778 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านกลิ่นของแมคคาเดเมียอบแห้งโดยใช้เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์กลิ่นด้วยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์กับการวิเคราะห์คุณภาพทางด้านเคมี วิธีการวิจัย คือ นาแมคคาเดเมียอบแห้งมาใส่ในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดที่อุณหภูมิห้อง 0, 24, 48, 72, 96 และ 120 ชั่วโมง ตามลำดับ จากนั้นชั่งน้ำหนักใส่ในถุงอลูมิเนียมฟอยด์ แล้วนำแมคคาเดเมียมาทำการวิเคราะห์คุณภาพด้านกลิ่น โดยปัจจัยที่ทำการศึกษาคืออุณหภูมิในการบ่มแปรเป็น 2 ระดับ คือ 40 และ 50 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบ CRD โดยใช้ความสูงพีคที่เวลาต่างๆ ของคอลัมน์ DB-5 และ DB-1701 ในการคัดเลือกอุณหภูมิที่เหมาะสมในการบ่ม จากนั้นนำมาทำการศึกษาคุณภาพด้านเคมี แล้วจัดกลุ่มแบบขั้นตอน (HCA) วิธีการรวมกลุ่มของวอร์ด และวิเคราะห์ความถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์กลิ่นด้วยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์กับคุณภาพด้านเคมี ผลการวิจัย พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมในการบ่มคือ 50 องศาเซลเซียส ผลการจัดกลุ่มแบบขั้นตอน (HCA) ของการวิเคราะห์ด้วยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์และคุณภาพด้านเคมี พบว่าสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ การวิเคราะห์ด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มที่ 1 ที่เวลา 0 24 และ 48 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 ที่เวลา 72 และ 96 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 3 ที่เวลา 120 ชั่วโมง ค่าความชื้น กลุ่มที่ 1 คือที่เวลา 0 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 ที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 3 ที่เวลา 72, 96 และ 120 ชั่วโมง และค่ากรดไทโอบาร์บิทิวริก (TBA) กลุ่มที่ 1 ที่เวลา 0 ชั่วโมง กลุ่มที่ 2 ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 3 ที่เวลา 120 ชั่วโมง ทั้งนี้การวิเคราะห์ความถดถอยระหว่างผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์กับคุณภาพด้านเคมีได้ผลการวิเคราะห์ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน | en_US |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to find out the appropriate condition of Heracles electronic nose in analyzing rancid odour of dried macadamia nuts, and the correlation between the odour analysis by the electronic nose and the quality by chemical analysis. Six bowls of dried macadamia nuts were placed in a room temperature for 0, 24, 48, 72, 96 and 120 hours respectively. Next, each was weighed, put and zipped in separate aluminium foil bags for odour analysis by the Heracles electronic nose. The experiment plan, CRD, was used to find out the appropriate incubation temperatures. The incubation temperatures were set at 40 C and 50 C with the peak heights of DB-5 and DB-1701. After that, their chemical quality was analyzed by the HCA through the Ward’s method. Finally, the regression analysis was used to identify the correlation between the odour analysis by the electronic nose and the quality through chemical analysis. It was found that the appropriate temperature for incubation was at 50 C. The results also revealed that the HCA classification, through the analysis of the electronic nose and the chemical analysis, could be grouped into 3 clusters. The former analysis showed the appropriate incubated times of the 3 clusters at 0, 24 and 48 hours, at 72 and 96 hours and at 120 hours respectively. The latter analysis indicated the suitable times with appropriate moisture contents of the 3 clusters at 0 hour, at 24 and 48 hours, and at 72, 96 and 120 hours correspondingly. The optimum times with appropriate contents of thiobarbituric acid were at 0 hour, at 24, 48, 72 and 96 hours, and at 120 hours accordingly. Furthermore, the regression analysis showed a direct correlation between the analysis by the electronic nose and chemical analysis. | |
dc.language.iso | thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.subject | เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ -- วิเคราะห์กลิ่นหื่น | en_US |
dc.subject | แมคคาเดเมียอบแห้ง | en_US |
dc.subject | แมคคาเดเมีย | en_US |
dc.subject | เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
dc.subject | การจัดกลุ่มแบบขั้นตอน | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ความถดถอย | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้เครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ในการวิเคราะห์กลิ่นหืน ของแมคคาเดเมียอบแห้ง | en_US |
dc.title.alternative | Application of electronic nose for rancid odour analysis of dried macadamia | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - HET) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-151637.pdf | Application of electronic nose for rancid odour analysis of dried macadamia | 4.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.