Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3095
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | The relationship between academic leadership of school principals and national quality assurance operation in school under Pathum Thani primary educational service area office |
Authors: | ณภัทรารัตน์ ศรีเจริญ |
Keywords: | ผู้บริหารโรงเรียน ภาวะผู้นำทางการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี 2) ระดับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี และ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 50 คน และครูผู้สอน จำนวน 283 คน รวม ทั้งสิ้นจำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวม และรายด้าน 2) ระดับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน และ 3) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์กันในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน ด้านที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด ได้แก่ การส่งเสริมบรรยากาศวัฒนธรรมกับการจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา รองลงมาคือ การติดตามความก้าวหน้ากับการจัดทาแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และการกำหนดวิสัยทัศน์พันธกิจกับการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งทั้ง 3 คู่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 The major objectives of this research were to study 1) the academic leadership level of primary school administrators in Pathum Thani province, 2) the level of implementation of quality assurance within the primary schools in Pathum Thani province, and 3) the level of relationship between academic leadership of primary school administrators and the implementation of quality assurance in primary schools in Pathum Thani province. Research samples were 47 school administrators and 288 teachers from primary schools in Pathum Thani province. Research instrument was a set of 5 – level rating scale questionnaire. Descriptive statistics including percentage, mean, and standard deviation (S.D.) and Pearson’s product moment correlation coefficient were used for data analysis. The findings showed that 1) the administrator’s level of academic leadership 2) the level of internal quality assurance 3) the level of relationship between academic leadership of primary school administrators and the implementation of internal quality assurance were high in both overall and individual aspects. The most relevant ones were the promotion of cultural atmosphere and the educational management plan for educational institutions development, the tracking process and the educational management plan for educational institutions development, and defining vision and mission in accordance with the establishment of educational standards respectively. The three pairs showed highly positive relation with a statistically significant difference at 0.01. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3095 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-155568.pdf | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.