Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3101
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุษบา สถิรปัญญา | |
dc.date.accessioned | 2018-03-16T08:19:57Z | |
dc.date.accessioned | 2020-09-24T04:55:18Z | - |
dc.date.available | 2018-03-16T08:19:57Z | |
dc.date.available | 2020-09-24T04:55:18Z | - |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3101 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของการรายงานผลการดำเนินโครงการที่ล่าช้า จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการควบคุมการรายงานผลดำเนินโครงการ/แผนงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางในการวางแผนกำหนดนโยบายการบริหารโครงการ/แผนงานของผู้บริหารต่อไป ผลจากการศึกษาข้อมูลการรายงานผลการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินเหลือจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบอุดหนุนและงบรายจ่ายอื่นของหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2559 และผลการสัมภาษณ์และความคิดเห็น จากกลุ่มผู้ที่รับผิดชอบงานด้านแผนงาน/โครงการและงบประมาณประจำหน่วยงานหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 28 คน พบว่าการบริหารเงินงบประมาณในส่วนของโครงการที่ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ทำให้มีเงินเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการที่ดึงกลับเข้ามาเป็นเงินส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากทุกปี เนื่องจากเจ้าของโครงการมีภารกิจหลายด้านไม่สามารถกำหนดแผนการจัดโครงการได้แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคลากรในการรายงานผลการดำเนินโครงการบ่อยครั้งทำให้ส่งข้อมูลไม่ต่อเนื่อง ล่าช้า และบุคลากรที่รายงานผลขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ ทำให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์/ไม่ครบถ้วน ดังนั้นการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำผลมาวิเคราะห์จัดทำสรุปรายงานผลเสนอต่อผู้บริหารจึงล่าช้าไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด เงินเหลือจ่ายจากการดำเนินโครงการที่ดึงกลับเข้าส่วนกลางมหาวิทยาลัยมีจำนวนเงินมากในทุกปี ทำให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถนำเงินงบประมาณดังกล่าวมาจัดสรรบริหารจัดการเป็นรายการอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนได้ทันเวลาที่กำหนด ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรเงินงบประมาณของสำนักงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยในปีถัดไป ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรของหน่วยงานในระดับปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการดำเนินโครงการ ค่าเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี การจัดโครงการควรดำเนินให้เป็นไปตามแผนที่หน่วยงานกำหนดไว้ และมหาวิทยาลัยควรมีมาตรการในการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินโครงการเป็นรายไตรมาส และกำหนดระยะเวลาการส่งคืนเงินเหลือจ่ายกลับเข้าส่วนกลางมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการในส่วนที่จำเป็นและเร่งด่วน คุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพทันตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนด | en_US |
dc.description.abstract | This research article aims to determine problems and causes of the delay of making project report that do not correspond with the designated annual action plan. Secondly, it is also intended to study the ways to direct project report/action plan procedures in accordance to its expected goals and objectives. Thirdly, ways of developing plans and making administrative policies of the project and action plan for will also be considered. Referring to the information based on RMUTT Fiscal Year 2014-2016 report and its budget disbursement as well as its annual remaining funds, subsidies and other budget expenditures including data collection from interviews and questionnaires from 28 of those who are either responsible for making project plan/action plan or those who have taken parts in the project, it could be found that some parts of the project budget have not been utilized resourcefully in accordance to designated action plan. There are more and more budgets being drawn back to RMUTT’s common purse due to the fact that the project leader might not be able to set constructive planning, too many replacements of administrators are being done causing delays in administrative procedures as well as some of the personnel are lack of expertise in the field of responsibilities including targeted indicators related to the action plan making some of the information unreliable. Based from the facts above, therefore, the unreliability of data collection causes a delay in organizing a report and sending them to the administrators for their considerations. Not to mention how it would also result in an increase of budgets being returned to RMUTT’s common purse making the budgets unusable for other financial managements. These drawbacks might eventually fall into the problem of BUREAU OF THE BUDGET next fiscal year. The research study also intended to offer understanding and provided facts to personnel with useful information that are related to the project planning, project indicators for its annual action plan. Related to the successful project planning, RMUTT should be offering quarterly budget and scheduling predetermined time frame of returning budgets back to the central purse for its efficiency, time manageability and worthiness according to the cabinet resolution. | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.language.iso | Thai | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองนโยบายและแผน | en_US |
dc.subject | โครงการ -- ปัญหาและอุปสรรค | en_US |
dc.subject | การบริหารโครงการ | en_US |
dc.subject | Project management | en_US |
dc.title | การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการ/แผนงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | en_US |
dc.title.alternative | Factors that affect the assessment procedures of annual action plan of Rajamangala university of technology Thanyaburi | en_US |
dc.type | Research | en_US |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - PPD) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Research-Busaba.pdf | การศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินโครงการ/แผนงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี | 7.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.