Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3105
Title: แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Environmental management guidelines to enhance learning for inclusive education in primary schools in Pathum Thani province
Authors: ประวีณา โภควณิช
Keywords: สภาพแวดล้อมห้องเรียน
สภาพแวดล้อมทางการเรียน
Classroom environment
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานปัจจุบันและสภาพการดำเนินงาน ที่พึงประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี และ 2) เสนอแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 308 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 51 คน รวม 359 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานปัจจุบันของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.52, S.D.=0.92) และสภาพการดำเนินงานที่พึงประสงค์ของการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.59, S.D.=0.64) 2) แนวทาง การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี ตามความต้องการจำเป็นมากที่สุด ดังนี้ (1) ด้านภูมิทัศน์ จัดให้มีสนามกีฬา สนามเด็กเล่น สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (2) ด้านความปลอดภัย จัดให้มีสัญญาณไฟ สัญญาณกริ่ง ป้ายข้อความสัญลักษณ์เพื่อเตือนสิ่งที่เป็นอันตราย จุดที่ห้าม (3) ด้านอาคารสถานที่ จัดให้มีห้องน้ำสำหรับคนพิการ (4) ด้านการบริหารจัดการ บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมด้านการจัดสภาพ แวดล้อม (5) ด้านการเรียนการสอน จัดให้มีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอกับการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล (6) ด้านการปฏิสัมพันธ์ของบุคคล จัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาการสอนสำหรับเด็กพิเศษ ตามลำดับ
This research aimed to 1) study the current state and the expected state of the environmental management that enhance student’s learning for inclusive education in primary schools in Pathum Thani Province, and 2) propose the environmental management guidelines to enhance learning for inclusive education in primary schools in Pathum Thani Province. The sample group, selected by stratified random sampling, consisted of 308 teachers and 51 school administrators in primary schools under Pathum Thani Primary Educational Service Area. The research instrument was a questionnaire. The data was analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNI modified). The results revealed that 1) the current state of the environmental management that enhanced student’s learning for inclusive education in primary schools in Pathum Thani Province was at a high level (x ̅=3.52, S.D.=0.92) and the expected state was at the highest level (x ̅=4.59, S.D.=0.64), and 2) the proposed environmental management guidelines to enhance learning for inclusive education in primary schools in Pathum Thani Province were prioritized as follows: (1) the landscape, especially the playground, designed for students with special needs; (2) the safety procedures provided with audio and visual signs in restricted areas; (3) the infrastructures for disabled students including notably accessible toilets; (4) more participation of the school staffs in school management; (5) the effective teaching and learning activities including sufficient instructtional media; and (6) training for teachers for students with special needs.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3105
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-155575.pdfแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.