Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3175
Title: | การพัฒนาชุดชั้นในสตรีโดยการตกแต่งสำเร็จด้วยคอลลาเจน |
Other Titles: | Development of lingeries by collagen finishing |
Authors: | ณัฐพงษ์ ปัญญาธิคุณ |
Keywords: | ชุดชั้นในสตรี -- การตกแต่ง ผ้าถักเส้นใยผสม คอลลาเจน เสื้อยกทรง สมบัติกายภาพ Collagen knitted fabric physical property |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. สาขาวิชาเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปริมาณ ชนิด และประเภทของผ้าชุดชั้นใน และทำการตกแต่งสำเร็จด้วยคอลลาเจน 2) เพื่อเปรียบเทียบความชุ่มชื้นก่อนและหลังการตกแต่งสำเร็จด้วยคอลลาเจน 3) เพื่อทดสอบสมบัติทางกายภาพของผ้าถักเส้นใยผสม ด้วยการเคลือบสารคอลลาเจนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน
วิธีดำเนินการวิจัยคือ เคลือบผ้าถักจากเส้นใยฝ้ายผสมสแปนเด็กซ์ เส้นใยไนลอนผสมสแปนเด็กซ์ และเส้นใยพอลิเอสเตอร์ผสมสแปนเด็กซ์ด้วยสารคอลลาเจนจากปลาทะเลน้ำลึก ความเข้มข้นที่ 10 30 50 70 และ 90 กรัมต่อลิตร ด้วยเครื่องจุ่มบีบอัด จากนั้นนำไปทดสอบสมบัติ การจัดการความชื้น ความขาว และการรักษาความชุ่มชื้นกับผลมะเขือเทศ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) และทาการวิเคราะห์และตรวจสอบความพึงพอใจต่อชุดชั้นในต้นแบบที่ผ่านการเคลือบสารคอลลาเจน
ผลงานวิจัยพบว่า ผ้าเส้นใยฝ้ายผสมสแปนเด็กซ์ มีความสามารถในการจัดการความชื้นได้ดีที่สุดร้อยละ 4.35 รองลงมาคือผ้าเส้นใยไนลอนร้อยละ 2.04 และผ้าเส้นใยพอลิเอสเตอร์ร้อยละ 0.42 ตามลำดับ ด้วยเครื่องทดสอบ Moisture Management Tester และผ้าเส้นใยฝ้ายที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จคอลลาเจนปริมาณ 50 กรัมต่อลิตร สามารถรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวมะเขือเทศได้ดีที่สุดเมื่อผ่านการทดสอบ 7 วัน รองลงมาคือ ผ้าเส้นใยพอลิเอสเตอร์ และไนลอน ตามลาดับ การทดสอบความคงทนต่อการซัก การซักล้างมีผลทำ ให้ปริมาณสารคอลลาเจนลดลง This research attempted 1) to study quantity, kind and type of lingerie coated by collagen finishing, 2) to compare its moisture before and after coating, and 3) to experiment the physical property of knitted fabric coated with different intensity of collagen. The methodology included coating collagen finishing from marine fish on knitted fabric with spandex, nylon fabric with spandex and polyester fabric with spandex at the concentrations of 10, 30, 50, 70 and 90 gram per litre. This was done by compressed air plunger. Then, their property were tested by using tomatoes for moisture management, whiteness index and moisture management. Completely randomized design was implemented and the satisfaction on original lingerie model was then analyzed. The results showed that fabric with spandex had the highest moisture management at 4.35%, nylon at 2.04% and polyester fabric at 0.42% respectively by using Moisture Management Tester. Fabric with collagen finishing at 50 gram per litre could manage the best moisture when tested on tomato skin for 7 days, followed by polyester and nylon respectively. Washing fastness and washing affected the reduction quantity of collagen. |
Description: | วพ TT 677 ณ339ก |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3175 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis - HET) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT_152425.pdf | การพัมนาชุดชั้นในสตรีโดยการตกแต่งสำเร็จด้วยคอลลาเจน | 5.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.