Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3177
Title: ความเป็นพิษและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรในหนูที่เป็นเบาหวาน
Other Titles: Toxicity and bioactivity of extracted pikudtripitjuk in diabetic rats.
Authors: อรทัย สารกุล
Keywords: ยาสมุนไพร -- การทดลอง
สารสกัดตรีพิษจักร
ความเป็นพิษ
ระดับน้ำตาลในเลือด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์.
Abstract: พิกัดตรีพิษจักรเป็นตารับยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของเครื่องยา 3 ชนิด คือ ดอกกานพลู ลูกจันทน์เทศ และลูกผักชีล้อมในอัตราส่วน 1:1:1 การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรในหนูที่เป็นเบาหวาน ทำการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรด้วย เทคนิค แกสโครมาโตมาโตกราฟี-แมสสเปคโตรมิเตอร์ (Gas chromatography–mass spectrometer) ศึกษาความเป็นพิษ ได้แก่ การทดสอบพิษเฉียบพลัน โดยการป้อนสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรขนาด 500 1,000 2,000 และ 4,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แบบป้อนครั้งเดียว และพิษกึ่งเฉียบพลัน โดยการป้อนสารสกัดในขนาด 500 2,000 และ 4,000 มิลลิกรัมต่อน้า หนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 2 วัน เป็นระยะเวลา 14 วัน และนำมาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคเบาหวานด้วย สเตร็ปโตโซโทซิน (Streptozotocin) โดยการป้อนสาร สกัดพิกัดตรีพิษจักรขนาด 250 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุกวันเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรด้วยเทคนิคแกสโครมา-โตกราฟแมสสเปคโตรมิเตอร์ พบสาร p-Eugenol (67.02%), Safrene (2.32%), Beta-caryophyllene (2.94%), Phenol (1.92%), Caryophyllene oxide (1.56%), Tetracyclo (1.26%), Tetradecanoic acid (CAS) (1.49%), Ethyl palmitate (1.71%), Osthole (4.28%) และ Oleic acid (2.68%) การทดสอบพิษเฉียบพลัน พบว่า สารสกัดทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดอาการความเป็นพิษและไม่ทำให้หนูตาย หลังให้สารสกัดภายใน 24 ชั่วโมง และสังเกตอาการต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ก็ไม่พบหนูตายหรือแสดงอาการเป็นพิษเฉียบพลัน ส่วนการศึกษาความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน พบว่าสารสกัดทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดอาการความเป็นพิษ และไม่ทำให้หนูตายเช่นกัน และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ค่าโลหิตวิทยา ได้แก่ WBC, RBC, Hb และ Hct และค่าเคมีโลหิต ได้แก่ ALP, AST, Cr และ ALT ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นขนาด 500 และ 4,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม มีผลให้ค่าเคมีโลหิต ALP, Cr และ ALT สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ พบว่าสารสกัดทำให้การเพิ่มน้ำหนักตัวหนูที่เป็นเบาหวานที่ได้รับสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรมีน้า หนักตัวเฉลี่ยสูงกว่าหนูที่เป็นเบาหวานควบคุม แต่น้อยกว่าหนูปกติควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) และสารสกัดสามารถลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดโดยไม่แตกต่างกับกลุ่มที่เป็นเบาหวานควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) เมื่อตรวจวิเคราะห์ค่าโลหิตวิทยา WBC, RBC, Hb, Hct, MCV, MCH, MCHC และ PLT ของหนูทดลองทุกกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกันและไม่แตกต่างจากหนูปกติควบคุม สำหรับค่าเคมีโลหิต BUN, CHOL, Cr, ALT และ AST ของหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดนั้นไม่แตกต่างทางสถิติกับหนูปกติควบคุม แต่ค่า ALP, TG และ GLOB ของหนูที่เป็นเบาหวานควบคุมมีค่าเฉลี่ยสูงแตกต่างจากหนูกลุ่มอื่น ๆ และมีค่า ALB ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p 0.05) ผลการศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ก่อให้เกิดพิษทั้งพิษเฉียบพลันและพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูทดลอง โดยมีค่า LD50 มากกว่า 4,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
Pikudtripitjuk is a herbal medicine and composes of Syzygium aromaticus (L.) Merr. Et Perry. (Myrtaceae) flowers, Myristica fragrans Houtt. fruits, and Cnidium monnieri Linn. fruits at a ratio of 1:1:1. This study was aimed to determine toxicities and bioactivity of the extracted Pikudtripitjuk in diabetic rats. The chemical components were determined employing gas chromatography–mass spectrometer. Acute and sub-acute toxicity were also studied. Acute toxicity study was performed by single oral gavages with the extracts at doses of 500, 1,000, 2,000 and 4,000 mg/kg b.w. to the rats. Moreover, sub-acute toxicity was tested in female Wistar rats by giving various doses of 500, 2,000 and 4,000 mg/kg b.w. of Pikudtripitjuk extracted every 2 days for 14 consecutive days. The bioactivity was conducted by inducing diabetic rats with streptozotocin. The oral administration of Pikudtripitjuk at a dose of 250 mg/kg b.w. to the diabetic rats was conducted every day for a total period of 6 weeks. The analysis of chemical constituents using gas chromatograph–mass spectrometer showed that the main compounds were p-Eugenol (67.02%), Safrene (2.32%), Beta-Caryophyllene (2.94%), Phenol (1.92%), Caryophyllene oxide (1.56%), Tetracyclo (1.26%), Tetradecanoic acid (CAS) (1.49%), Ethyl palmitate (1.71%), Osthole (4.28%), and Oleic acid (2.68%). In addition, the acute toxicity study showed that all the doses of the extracts did not produce any sign or symptom of acute toxicity and no mortality was recorded during the first 24 hours and within the 14 days duration. Furthermore, the result of sub-acute toxicity showed that all the doses of the extracts did not produce signs or symptoms of sub-acute toxicity and mortality during the 14 days observation period. The average body weight of the non-controlled and the treatment groups were not different. Apart from this, hematological components including WBC, RBC, Hb, Hct, and blood chemistry including ALP, AST, Cr, and ALT were also not different. The results showed that all treated groups were not different. However, the doses of 500, and 4,000 mg/kg b.w. of ALP, Cr, and ALT had higher significant level at p 0.05 in treated rats than in non-controlled rats. Although all treated groups were not different, Pikudtripitjuk treatment increased body weight of induced STZ diabetic rats significantly (p 0.05). Furthermore, administration of the extract showed significant (p 0.05) improvement in the lowering blood glucose levels. The extracts did not significantly change the levels of RBC, HB, HCT, MCV, MCH, MCHC, and PLT compared with the non-controlled group. The extract exhibited non-significant values in serum blood chemistry of BUN, CHOL, Cr, ALT, and AST compared non-controlled group I. On the other hand, the level of ALP, TG, and GLOB showed indication of increased but only ALB showed significant decline at p 0.05 in diabetic control rats when compared with controlled rats. These results suggest that the extract possessed hypoglycemic with no acute and sub-acute toxicity in the rats. The lethal dose, LD50 is higher than 4,000 mg/kg b.w.
Description: วพ RM 666.H33 อ324ค
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3177
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT_152427.pdfความเป็นพิษและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดพิกัดตรีพิษจักรในหนูที่เป็นเบาหวาน4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.