
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3183
Title: | การศึกษาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อประสิทธิผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต |
Other Titles: | A Study of Activity-Based Costing for Effective Product Cost Per Unit Cost Analysis |
Authors: | ภัคธนิกา เศวตเมธิกุล |
Keywords: | ต้นทุนฐานกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุน Activity-Based Costing Cost Driver |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองคลัง. |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมของศูนย์ต้นทุนและกำหนดตัวผลักดันต้นทุนตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรม 2) เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการปันส่วนจากต้นทุนกิจกรรมไปยังต้นทุนผลผลิต 3) เพื่อคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตและเปรียบเทียบผลระหว่างระบบต้นทุนแบบเดิมและระบบต้นทุนฐานกิจกรรม
ในการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้างการบริหารงานและทำการสัมภาษณ์/สังเกตการณ์ เพื่อกำหนดกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุน เกณฑ์มาตรฐานในการปันส่วน โดยหน่วยงานสนับสนุนกลางของมหาวิทยาลัยเป็นผู้จดบันทึกกิจกรรมการให้บริการ ดังนั้นปริมาณของตัวผลักดันต้นทุนนำมาจัดทำเป็นสัดส่วนการให้บริการ ใช้การปันส่วนต้นทุนแบบ Simultaneous Equation Method จะใช้เทคนิคการคำนวณ Liner Algebra Method สร้างเมตริกซ์การกระจายต้นทุน ปันส่วนแบบกลับไปกลับมา(Reciprocal Method of Allocation) และเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างต้นทุนแบบเดิมกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม กระบวนการคำนวณการเชื่อมโยงข้อมูลใช้โปรแกรม Microsoft Excel
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมที่ได้ 34 กิจกรรม 21 ตัวผลักดันต้นทุน 2) 17 เกณฑ์มาตรฐาน การปันส่วน 3)การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาเป็น 9 กลุ่มสาขาวิชา ระดับปริญญาตรี กลุ่มสาขาวิชาที่มีต้นทุนมากที่สุด 3 ลำดับแรก ดังนี้ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เท่ากับ 146,006.26 กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เท่ากับ 121,268.34 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ เท่ากับ 101,400.01 กลุ่มสาขาวิชาที่มีต้นทุนน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาบริหาร เท่ากับ 49,650.31 บาทต่อคน/ปี
จากการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างระบบต้นทุนแบบเดิมกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม พบว่า การคำนวณด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรมจะรับการปันส่วนมากน้อยตามสัดส่วนการใช้บริการ ดังนั้นกลุ่มสาขาวิชาใดใช้บริการในกิจกรรมนั้นมากจะรับการปันส่วนมาก ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตมาก หากใช้บริการน้อยจะรับการปันส่วนน้อย ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตน้อยตามไปด้วย ในขณะที่ต้นทุนแบบเดิม จะรับการปันส่วนมากน้อยตามค่า FTES
ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การปรับโครงสร้างการบริหารงานและภาระงานของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อกำหนดกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุนและเกณฑ์มาตรฐานการปันส่วนได้สัมพันธ์กับงานที่ให้บริการ และต้องบันทึกกิจกรรมการให้บริการซึ่งมีความยุ่งยาก เพิ่มภาระงาน แต่การให้ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลดีในระยะยาว ทำให้การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตมีความถูกต้อง สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด และใช้เป็นข้อมูลในการบริหารเชิงตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผล ต่อไป The objectives of this research are to 1) analyze the activities of cost centers and define cost drivers based the Activity-Based Costing (ABC) 2) determinate standard allocation criteria for the activities cost to product cost and 3) calculate the product cost per unit comparing to conventional method. In our research, the intra-organization structures and their responsibility were investigated by means of interview and observation in order to define activities, cost drivers and standard allocation criteria, where the servicing activities were registered by central support offices who belonged to services. Consequently, the number of cost drivers were translated as servicing fractional by using Simultaneous Equation Method and Linear Algebra Method was used to generate an Allocation Matrix based Reciprocal Allocation Method. In addition, the comparison of proposed activities-based costing and conventional methods was also shown in our research, where the database linking process was operated by using Microsoft Excel. Referring to our study, it was found that there are 1) 34 activities and 21 cost drivers, 2) 17 standard allocation criteria, and 3) the product cost per unit for every faculty/college was separately calculated as 9 subjects. The top-three highest costs were respectively Health Science subject at 146,006.26 Baht/head/year, Architecture subject at 121,268.34 Baht/head/year and Physical Science and biology subject at 101,400.01 Baht/head/year. Whilst the lowest cost was Administration subject at 49,650.31 Bath/head/year. However, the comparison of our and conventional methods showed that the calculated results of activities based costing model was significantly varied by servicing allocation. Thus, the high allocation belonged to the subject having high activities which affected to high product cost per unit, meanwhile the product cost per unit using conventional method was varied by FTES. Furthermore, we strongly recommend to update the intra-organization structures and their responsibility to completely define activities, cost drivers and standard allocation criteria, which may obtain the valid servicing activities and registration. Although it is complicated to improve the intra-organization structures and their responsibility, the valid results may be yielded for a long-term. The calculated results of product cost per unit will be accuracy which near to actual events, in particular, it is very useful for good decision management and so on. |
Description: | การศึกษาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อประสิทธิผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3183 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - FD) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT_Paktanika_R2R.pdf | การศึกษาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมเพื่อประสิทธิผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต | 44.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.