Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/328
Title: | การพัฒนาเทคโนโลยีการทำน้ำผึ้งครีมจากน้ำผึ้ง จากดอกไม้บางชนิด |
Other Titles: | Honey cream technology development for some kinds of honey |
Authors: | อัญชลี สวาสดิ์ธรรม สุคันธรส ธาดากิตติสาร สุทธิ ชัยพฤกษ์ อรพินธ์ โรจนะ |
Keywords: | น้ำผึ้ง -- วิจัย ครีมน้ำผึ้ง |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีการเกษตร |
Abstract: | การดำเนินโครงการ การพัฒนาการเทคโนโลยีการทำน้ำผึ้งครีมจากน้ำผึ้ง จากดอกไม้บางชนิด แบ่งขั้นตอนการทำงาน เป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. ศึกษาสมบัติน้ำผึ้งและน้ำผึ้งครีมจากน้ำผึ้งจากดอกไม้ 3 ชนิด คือ น้ำผึ้งลำไยลิ้นจี่ และ สายเสือ ผลการศึกษาพบว่า 1.1 ลักษณะทั่วไปของน้ำผึ้ง น้ำผึ้งลำไย มีความหวาน 79.3°Brix มีความชื้น 19.21 เปอร์เซ็นต์ น้ำผึ้งลิ้นจี่ มีความหวาน 74.4°Brix มีความชื้น 21 เปอร์เซ็นต์ น้ำผึ้งสาบเสือ มีความหวาน 76.5°Brix มีความชื้น 20 เปอร์เซ็นต์ 1.2 น้ำผึ้งปกติและน้ำผึ้งครีมมีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน 1.3 น้ำผึ้งที่มีความชื้น 18 เปอร์เซ็นต์ สามารถนำมาผลิตน้ำผึ้งครีมที่มีคุณภาพที่ดี 2. น้ำผึ้งที่มีความชื้นตั้งแต่ 18 เปอร์เซ็นต์ ที่นำมาผลิตเป็นน้ำผึ้งครีมที่มีคุณภาพที่ดีและ 15 องศาเซลเซียส และนำมาเก็บที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ผลการตรวจสภาพครีมของน้ำผึ้งครีมแต่ละชนิดพบว่า น้ำผึ้งครีมลำไย สามารถเก็บในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ 2 – 3 วัน น้ำผึ้งครีมลิ้นจี่สามารถเก็บในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้ 6 – 12 วัน น้ำผึ้งครีมสาบเสือ สามารถเก็บในอุณหภูมิ 30 องศาเซลเชียส ได้ 6 – 9 วัน 3. การศึกษาพฤติกรรมการยอมรับน้ำผึ้งครีมจากดอกลำไย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ อำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยใช้แบบสอบถามแบบ Rating Scale ใช้สถิติ Chi - square ในการวิเคราะห์ข้อมูลกับประชากรตัวอย่าง 300 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคให้การยอมรับปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปของน้ำผึ้งครีมจากน้ำผึ้งปกติในระดับมากในทุกปัจจัยและไม่พบความแตกต่างของการยอมรับน้ำผึ้งครีม ของผู้บริโภคที่มีลักษณะด้านเพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน The research was undertaken to develop technique of honey Cream production from some kinds of honey. The research work was divided into 3 parts as follow : -1 1. Study the general properties of honey and honey cream from 3 kindes of honey : longan honey, Litchi honey and Sab Sua honey the result clearly found that 1.1 Sweetness of longan honey was 79.3°Brix, moisture content was 19.2% . Sweetness of Litchi honey was 74.5°Brix, moisture content was 20%. And Sweetness of Sab sua honey was 76.5°Brix, moisture content was 20% 1.2 The components of fresh honey and honey cream were similar. 1.3 The original moisture content of honey at 18% gave the best quality of honey cream. 2. Honey cream was adjust original moisture content at 18% and then stored in 4 and 15°C for 3, 5, 7, 9, 12 and 15 day respectively. After that, honey cream was kept at room temperature (30°C) and tested stability every 3 days. The results showed that storing 3 kinds of honey cream at 4 and 15°C would preserved honey cream for 2 – 12 day. 3. Consumer survey was conducted to investigate Consumer’s acceptance. One set of questionnaires was use to collect data from random sampling of consumers in Amphoe Thanyaburi, Amphoe Lam Luk Ka. Pathum thani Province, Khot Don Muang Bangkok. Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya. Phra Nakhon Si Ayutthaya Province . Amphoe Muang Nakhon Nayok Province. The sample size was 300 consumers. Study the sample by using rating scale and the dnty were analyzed by Using chi – square. Consumer acceptability test indicated that they accepted every factors which changed the honey cream from normal honey and there were or significance different in acceptance between sex, age. Income, occupation and education. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/328 |
Appears in Collections: | วิจัย (Research - AGR) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
03.Abstract.pdf | Honey cream technology development for some kinds of honey | 259.1 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.