Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา
dc.date.accessioned2019-10-03T07:43:59Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:56:24Z-
dc.date.available2019-10-03T07:43:59Z
dc.date.available2020-09-24T04:56:24Z-
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3412-
dc.description.abstractบทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระหว่าง Small Data และ Big Data ในยุคที่ข้อมูลขององค์กรถูก disruption ด้วยเทคโนโลยี Big Data อันเกิดจากอิทธิพลของ Disruptive Technologies การเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 เป็นผลจากอิทธิพลของ Disruptive Technologies ที่เปลี่ยนผันกลไกเศรษฐกิจโลกแบบเดิม อุตสาหกรรมแบบ Mass production หยุดชะงัก ปัจจัยการผลิตหลายอย่างมีขนาดเล็กลง โอกาสที่ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่จะต้องหยุดกิจการ เป็นสิ่งที่แทบหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหนักยิ่งขึ้นทุกที ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของธุรกิจขนาดเล็ก จนมีแนวคิดที่ว่า Small is Beautiful-Small is Powerful และ Small is Wonderful เกิดขึ้น ดังเช่น “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และรัฐบาลปัจจุบันได้น้อมนำไว้ในแผนพัฒนาฯ และใน กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ในยุค 4.0 ธุรกิจบริการ จะถูก Disruption ด้วย Big Data จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ Big Data และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มากขึ้น Big Data คือ ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ข้อมูลมีความซับซ้อนและต้องการซอฟต์แวร์ที่รองรับการจัดการหรือการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการประมวลผลและนำไปใช้ประโยชน์ได้แบบเรียลไทม์ เช่น Facebook Twitter Netflix Google ฯลฯ นอกเหนือจากแบรนด์เหล่านี้ ข้อมูลที่อยู่รอบชีวิตประจำของลูกค้าหรือผู้บริโภค ก็มีการเก็บไปทำ Big Data เพื่อทราบถึงพฤติกรรมเชิงลึกของลูกค้า ทำให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น สามารถนำไปวางแผนการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่เข้าถึงและช่วยให้ขยายฐานลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว หรือนำข้อมูลไปพัฒนาสินค้าหรือบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังใช้วิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ส่งผลให้ธุรกิจยุคนี้จะเห็น Big Data เป็นที่พึ่งพา เพื่อทำความเข้าใจกับความต้องการอย่างลึกซึ้งของผู้บริโภค แต่เอาเข้าจริง Big Data ไม่ใช่คำตอบทั้งหมด เพราะผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากตัวเลขหรือข้อมูลเหล่านี้ จะต้องเห็นความจริง หรือ “อะไร” ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังด้วย จากแนวคิดของ Martin Lindstrom พบว่า Big Data เปรียบเป็นขุมทรัพย์อันมีค่ามหาศาลสำหรับธุรกิจ แต่ขุมทรัพย์นั้นจะถูกนำไปต่อยอด เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้หรือไม่ จำเป็นอย่างยิ่งต้องมี Small Data ที่ทำให้ธุรกิจเข้าใจเหตุผลที่มาที่ไปของพฤติกรรมผู้บริโภค ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของผู้บริโภค เพื่อนำมาวิเคราะห์ และตีความร่วมกันen_US
dc.language.isothaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectSmall Data, Big Data,en_US
dc.subjectDisruptive Technologies,en_US
dc.subjectยุค 4.0en_US
dc.titleเมื่อ Big Data เข้ามา Small Data ก็ไม่ควรถูกละเลยen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:บทความ (Article)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อ.พงศ์พิชญ์ - Article.pdf755.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.