Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก
dc.date.accessioned2012-01-25T02:40:29Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:57:40Z-
dc.date.available2012-01-25T02:40:29Z
dc.date.available2020-09-24T04:57:40Z-
dc.date.issued2552
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/344-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการความรู้ทั้งต่างประเทศและในประเทศพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม และศึกษาผลการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้มาโดยการคัดสรรจากต่างประเทศ จำนวน 31 รูปแบบ จากในประเทศ จำนวน 27 รูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ จำนวน 3 ท่าน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ผู้ได้รับความรู้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 80 คน บุคคลทั่วไป จำนวน 44 คน และผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบจำนวน 25 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์การจัดการความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินรูปแบบการจัดการความรู้แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการความรู้ของผู้ดำเนินการจัดการจัดการความรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นการจัดการความรู้ของผู้ไดรับความรู้ และแบบประเมินเพื่อรับรองรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดการจัดการความรู้ต่างประเทศและในประเทศ พบว่า ด้านกระบวนการจัดการ ความรู้ ประกอบด้วย การกำหนด การสืบค้น การสร้าง การจัดเก็บ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประเมิน สำหรับด้านองค์ประกอบ/ปัจจัย/กิจกรรม เกี่ยวข้องกับสังคม ความรู้ และปัจจัยอื่น 2. รูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม ได้แก่ด้านองค์ประกอบ ประกอบด้วย ความรู้ภายในบุคคล ความรู้ภายนอกบุคคล และสังคม ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การกำหนดความรู้ การสืบค้นความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการประเมินความรู้ การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย ความรู้หลัก แนวปฏิบัติ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด เทคโนโลยี และการประเมินผล การสร้างความรู้ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรม สื่อและการวัดและประเมินผล การจัดเก็บความรู้ ประกอบด้วย เทคโนโลยีดั้งเดิม เทคโนโลยีกระบวนการเทคโนโลยีสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่อบุคคล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย การสื่อสารแบบทางเดียว การสื่อสารแบบสองทาง การสื่อสารแบบประสานเวลา การสื่อสารแบบต่างเวลา และการสื่อสารแบบผสมผสาน การประเมินผลความรู้ ประกอบด้วย การประเมินผลระหว่างการดำเนินการ การประเมินผลหลังดำเนินการ การประเมินผลความรู้ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลทัศนคติ ในแต่ละกระบวนการประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การกำหนดความรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การกำหนดตำแหน่งผู้รับผิดชอบและวิธีติดต่อสื่อสาร 2)ความรู้หลัก 3)แนวปฏิบัติ 4)กลยุทธ์ 5)ตัวชี้วัด 6)เทคโนโลยีหรือเครื่องมือ 7)การประเมินผล และ 8)การอนุมัติหรือประกาศใช้การกำหนดความรู้ การสืบค้นความรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้สืบค้นความรู้ 4)การกำหนดระดับความรู้ 5)การกำหนดเครื่องมือ/สื่อในการสืบค้น และ 6) การอนุมัติหรือประกาศใช้การสืบค้นความรู้ การสร้างความรู้ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้สร้างความรู้ 4)การกำหนดเนื้อ 5)การกำหนดกิจกรรม 6)สื่อ 7)การวัดประเมินผล และ 8) การอนุมัติหรือประกาศใช้การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)กำหนดผู้จัดเก็บความรู้ 4)การกำหนดเทคโนโลยีหรือสื่อ และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การจัดเก็บความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)การกำหนดวิธีการสื่อสาร 4)การกำหนดรูปแบบการสื่อสาร และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผลความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1)กำหนดความรู้ 2)กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3)การกำหนดการประเมินผลระหว่างดำเนินการ 4)การกำหนดการประเมินผลหลังการดำเนินการ และ 5)การอนุมัติหรือประกาศใช้การประเมินผลความรู้ 3. ผลการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม พบว่า 3.1 ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตสู่สังคมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่า ผู้เรียนในฐานะผู้ดำเนินการจัดการความรู้ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบและเป็นรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับผลการประเมินความรู้ความสามารถที่ได้จากการจัดการความรู้ของกลุ่มตัวอย่างดำเนินการจัดการความรู้ มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2 ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสังคมกลุ่มเป้าหมาย (นักศึกษาระดับปริญญาตรี) พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (รวม 4 ชั้นปี) ที่มีต่อสื่อสารการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความรู้ที่ได้รับ พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก แต่พบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 3.3 ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของสังคมกลุ่มเป้าหมายบุคคลทั่วไป พบว่า ความคิดเห็นโดยรวม ของผู้ได้รับความรู้บุคคลทั่วไปที่มีต่อสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้จากการจัดการความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบการนำเสนอ พบว่าบุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วน ด้านความรู้ที่ได้รับ พบว่า บุคคลทั่วไปมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. การรับรองรูปแบบการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคูณวุฒิทำงานการรับรองรูปแบบในองค์ประกอบ กระบวนการ และขั้นตอนในทุกประเด็นของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นและให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าเป็นรูปแบบที่ดีมากและดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้--วิจัยen_US
dc.titleการจัดการความรู้ในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาสู่สังคมen_US
dc.title.alternativeKnowledge Management of Graduated Instruction to societyen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Abstract.pdfKnowledge Management of Graduated Instruction to society888.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.