Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/345
Title: การพัฒนาดอกบัวสดอบแห้ง
Other Titles: Development for Preserved Fresh Waterlily
Authors: สุภา จุฬคุปต์ และคณะ
Keywords: ดอกไม้แห้ง -- วิจัย
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการอบแห้งดอกบัวสดที่มีความเหมาะสมในงานประดิษฐ์ โดยการศึกษาทดลองใช้ซิลิก้าทราย ซึ่งเป็นสารดูดความชื้น ฝังกลบ 2 วิธี คือฝังกลบด้วยวิธีธรรมชาติ 7 วัน 10 วัน 20 วัน และฝังกลบร่วมกับการอบในเตาไมโครเวฟความร้อนสูง โดยใช้เวลา 1 นาที 1.5 นาที และ 2 นาที และทิ้งไว้ 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ และศึกษาคุณลักษณะที่เหมาะสมของดอกบัวสดอบแห้ง โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ด้านดอกไม้สดและดอกไม้ประดิษฐ์จำนวน 10 คนเป็นผู้ประเมินคุณลักษณะของดอกบัวสดอบแห้ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีประสบการณ์ด้านดอกไม้สดและดอกไม้ประดิษฐ์ มีความพึงพอใจดอกบัวสดอบแห้ง ที่ฝังกลบ ด้วยวิธีธรรมชาติ (Silica sand) เป็นเวลา 7 วัน ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.50 ) และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อดอกบัวสดอบแห้ง โดยใช้ตัวอย่างดอกบัวสดอบแห้งร่วมกับแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 101 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะบัวก้านอ่อน จำนวน 10 ชนิด ที่ปลูกในพิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี ด้านข้อมูลพื้นฐานของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุระหว่าง 45-54 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี อาชีพส่วนใหญ่เป็น นักเรียน/นักศึกษา และรองลงมาคือ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 20.000 บาท ขึ้นไป สำหรับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อดอกบัวสดอบแห้ง พบว่าผู้บริโภคมีความพึงพอใจมากที่สุดในเรื่องลักษณะทั่วไปของดอกบัวสดอบแห้ง ส่วนเรื่องสีมีความพึงพอใจในระดับมาก ผลการวิจัยพบว่า ดอกบัวที่เหมาะสมที่สุดในการทำแห้งคือพันธุ์มังคลอุบล บัวขาว และไดเรคเตอร์เนื่องจากสีที่ได้จากการทำแห้งเป็นสีที่คงสภาพใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดสำหรับรูปทรงของดอกบัวหลังการทำแห้งจะคงรูปเช่นเดิมโดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในระยะเวลาหลายเดือน ส่วนเวลาที่ใช้ในการอบแห้งที่เหมาะสมที่สุด คือ อบด้วยวิธีธรรมชาติ ฝังกลบด้วยซิลิก้าทรายเป็นเวลา 7 วัน เพราะจะได้ดอกบัวแห้งที่เหมาะสมสวยงามทั้งสี รูปทรง และยังคงสภาพ ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ส่วนการฝังกลบร่วมกับไมโครเวฟ ระยะเวลาที่เหมาะสมคือ 1 นาที 1 วัน รูปทรง และสีจะเปลี่ยนเล็กน้อย และผู้บริโภคจะมีความพึงพอใจมากที่สุด
The purpose of this research is to develop preservation of fresh Waterlilies using granular drying agents, such as silica sand.The research encompasses 2 drying methods. One is through natural time (7 days, 10 days and 20 days), the other uses microwave’ s heat ( l minute, 1.5 minute 2 minutes and keep in silica for 1 day, 2 day and 3 days). This study was carried out by applying a randomized completed block design : RCBD for the experiment. Then 10 specialists evaluated the characteristics that require technical art and crafts, their satisfaction satisfaction for the preserved fresh Waterlilies were 7-days in silica sand,the most preferred at (Mean = 4.50) Customers’ satisfaction was studied through a set of questionnaires and the sample of preserved fresh waterlilies. The sample group of 101 persons was drawn from the population by random sampling. Majority of the samples comprise of female of 45-54 year of age with a bachelor degree and earn more than 20,000 baht per month. Statistic analysis included frequency, percentage, and mean. The research has found that the natural method of 7- days in silica sand preservation brings about more effective outcome in terms of the flower’s shape and color,with the microwave’ heat need the 1 minute 1 day natural form and color change a little. It is also concluded from the questionnaires that customers are the most satisfied with the shape of the preserved waterlilies and very satisfied with their color.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/345
Appears in Collections:วิจัย (Research - HET)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2.Abstract.pdfDevelopment for Preserved Fresh Waterlily298.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.