Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/348
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิศากร สิงหเสนี
dc.contributor.authorสมชาย ผาธรรม
dc.contributor.authorอุบลรัตน์ จิลลานนท์
dc.contributor.authorพงษ์ศักดิ์ กวีนันทชัย
dc.date.accessioned2012-01-25T03:58:51Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:42:15Z-
dc.date.available2012-01-25T03:58:51Z
dc.date.available2020-09-24T04:42:15Z-
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/348-
dc.description.abstractการศึกษาการรับรู้บทบาทของประชาชน ในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2546 และระเบียบที่เกี่ยวข้องมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้บทบาทของประชาชน ในการตรวจสอบการบริหาร งานขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ต่อรูปแบบและระบบการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาแนวทางในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาคประชาชน/ประชาสังคม ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ปลัด อบต. และท้องถิ่นอำเภอ รวมทั้งสิ้น 4, 055 คน ทั้งนี้ได้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธี multistage sampling กับภาคประชาชน รวม 3,900 คน และ purposive sampling กับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวม 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และตาราง cross tabs เพื่อใช้พิจารณาความถี่ของสองปัจจัยพร้อมกัน (จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า : 1. ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้บทบาทในการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นเรื่องใกล้ตัว มีผลที่เห็นได้เป็นรูปธรรม มีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ผ่านสื่อทุกแขนงเช่น ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล แต่เรื่องที่ประชาชนรับรู้บทบาทในการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบ ฯ ในระดับ “น้อย” มักเป็นเรื่องการตรวจสอบผลการดำเนินงาน เป็นเรื่องไกลตัวประชาชน ไม่เห็นผลกระทบโดยตรง ไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรายงาน เช่นเรื่ององค์การบริหารส่วนตำบลต้องปิดประกาศรายงานแสดงผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ประชาชนทราบทุก 3 เดือน 2. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาคประชาชน/ประชาคม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 2.1 จัดทำคู่มือการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การ บริหารส่วนตำบลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2.2 ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามคู่มือที่จัดทำขึ้น 2.3 ประชุมชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบสิทธิและหน้าที่การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล 2.4 บรรจุเรื่องการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการบริหารงานดังกล่าวไว้ในหลักสูตรทุกระดับชั้น 2.5 สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดดยแก้ไขกฎหมายให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามารถจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน 2.6 แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้นen_US
dc.description.abstractThe study of perception of people’s roles on the participation and investigation of administration of Subdistrict Administration Organization according to the Constitution of Thailand 2550, and the Act of Subdistrict Council and Subdistrict Administration Organization 2537 and the revised to(5th volume) 2546. And other related rules, aimed to study the perception of people’s roles on the investigation of subdistrict Administration Organization, opinions and suggestions of the involved personnel upon investigation patterns and systems of Subdistrict Administration Organization existed nowadays, as well as the ways to encourage people to participle and investigate the administration of Subdistrict Administration Organization by people / society according to the Constitution. The 4,055 samples consisted of 2 main groups : 3,900 local people of Subdistrict Administration Organization selected through multistage sampling, and 155 involved chief administrator of the SAO., Chief of district office for Local Administration from all over the country selected through purposive sampling The instruments used for data collection were questionnaires and interview forms. The data derived were analyzed by using descriptive statistics, including classifying, percentage, cross-checked and verified to check the frequency of 2 personal factors at the same time The results showed that : 1. Most people perceived the roles of participation and investigation of administration of Subdistrict Administration Organization, especially on any affairs that people could participate and concern, had concrete results and public relations through various media, i.e., people has rights to vote for some affairs were perceived less, especially on examining the overall operation or remote things, no direct impacts, less public relations through any media, and mostly about reportation, i.e., Subdistrict Administration Organization must announce its reports on overall operation every 3 months. 2. The suggestions for improving the participation and investigation of administration of Subdistrict Administration Organization by local people more effectively consisted of these followings : 2.1 Producing guidelines for participation and investigation of administration of Subdistrict Administration Organization in order to set same standard for all over the country. 2.2 Training officers of Subdistrict Administration Organization according to those guidelines. 2.3 Explaining to the local people about their rights and duty to participate and investigate the administration of Subdistrict Administration Organization. 2.4 Creating lessons on the participation and investigation of administration of Subdistrict Administration Organization by people in the curriculum of each level. 2.5 Encouraging people to participate by revising related laws to allow the Subdistrict Administration Organization giving them compensation or payment. 2.6 Revising related laws to let people participate easier.en_US
dc.description.abstractผู้ให้ทุน.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen_US
dc.language.isoThaien_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.คณะศิลปศาสตร์en_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- วิจัยen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นen_US
dc.titleการรับรู้บทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลen_US
dc.title.alternativeThe study of Perception of People’s Roles on the Participation and Investigation of Administration of Subdistrict Administration Organizationen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:วิจัย (Research - LARTS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
การรับรู้บทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมและตรวจสอบการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนต....pdfThe study of Perception of People’s Roles on the Participation and Investigation of Administration of Subdistrict Administration Organization691.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.