Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3514
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสาวิตรี เสือเอ็ง
dc.date.accessioned2019-11-21T07:58:33Z
dc.date.accessioned2020-09-24T04:46:42Z-
dc.date.available2019-11-21T07:58:33Z
dc.date.available2020-09-24T04:46:42Z-
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/3514-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมอนุภาคพอลิเมทาคริลิค แอซิด-บล็อก- พอลิสไตรีน ด้วยกลไกการประกอบตัวเองในกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชัน โดยใช้ พอลิเมทาคริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ เป็นสารโยกย้ายสายโซ่มหภาคและสารลดแรงตึงผิวป้องกันการรวมตัวของอนุภาค ได้ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ด้วยกลไกไอโอดีน ทรานสเฟอร์แบบอิมัลชันที่ไม่ใช้สารลดแรงตึงผิว (อิมัลชัน ไอทีพี) ของสไตรีน ด้วยการเกิดอนุภาคแบบประกอบตัวเองซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ ในขั้นตอนแรกทำการสังเคราะห์ พอลิเมทาคริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ ด้วยการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบสารละลายด้วยกลไกแบบไอโอดีน ทรานสเฟอร์และ รีเวิร์สซิเบิล เชนทรานสเฟอร์ แคตาลิส (โซลูชัน ไอทีพี และ อาร์ทีซีพี) ที่ใช้ไอโอโดฟอร์ม เป็นสารโยกย้ายสายโซ่และเจอร์มาเนียม ไอโอไดด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (สาหรับโซลูชัน อาร์ทีซีพี) ในไดออกเซน ในขั้นตอนที่สองนำสารละลาย พอลิเมทาคริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ ที่ได้ มาใช้ในการสังเคราะห์พอลิสไตรีนด้วย อิมัลชัน ไอทีพี ในน้าที่สภาวะเบส (พีเอช ประมาณ 9) ได้อิมัลชันที่มีความเสถียรและไม่รวมตัวกัน ที่ 100 เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนมอนอเมอร์เป็นพอลิเมอร์ มีขนาดของอนุภาคเฉลี่ยโดยจานวน 223 นาโนเมตร น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยโดยจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงกับการเปลี่ยนมอนอเมอร์เป็นพอลิเมอร์และมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยทางทฤษฎี อย่างไรก็ตาม การกระจายตัวของน้ำหนักของ พอลิเมอร์ที่ 100 เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนมอนอเมอร์เป็นพอลิเมอร์ค่อนข้างสูง (2.1) ซึ่งพบว่า ระหว่างการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระบบอิมัลชัน มีไอโอโดฟอร์มจำนวนมากในสารละลายของพอลิเมทา คริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ ที่ไม่เกิดปฏิกิริยา ดังมีการตกตะกอนในวัฎภาคน้ำที่เป็นเบส ในการปรับปรุงการกระจายตัวของน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ จะทำบริสุทธิ์ของพอลิเมทาคริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ก่อนนำไปใช้ในการสังเคราะห์ อิมัลชัน ไอทีพี นอกจากนี้ไอโอโฟอร์มที่ปริมาณต่างๆจะถูกเติมลงในระบบการสังเคราะห์ อิมัลชัน ไอทีพี หลังจากผ่านช่วงต้นของการสังเคราะห์พอลิเมอร์ (ที่ 90 นาที) โดยพบว่า การใช้ไอโอโดฟอร์ม ที่ 1.71 มิลลิโมล อนุภาคพอลิเมทาคริลิค แอซิด-บล็อก-พอลิสไตรีน จะมีการควบคุมที่ดีโดยมีค่าการกระจายตัวของน้าหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ค่อนข้างแคบ ( ประมาณ 1.2) นอกจากนี้ พอลิเมอร์ที่ได้ยังแสดงถึงการมีชีวิต โดยน้าหนักโมเลกุลจะเพิ่มตามการเปลี่ยน มอนอเมอร์ไปเป็นพอลิเมอร์ สามารถสรุปได้ว่า อนุภาคพอลิเมทาคริลิค แอซิด-บล็อก-พอลิสไตรีน ขนาดต่ำกว่าไมโครเมตรที่มีความเสถียรและมีการกระจายตัวของน้ำหนักโมเลกุลที่แคบ สามารถเตรียมได้โดยใช้ พอลิเมทาคริลิค แอซิด-ไอโอไดด์ ที่ทำให้บริสุทธิ์ เป็นสารโยกย้ายสายโซ่มหภาค พร้อมทั้งเติม ไอโอโดฟอร์มที่ 1.71 มิลลิโมล หลังจากช่วงเริ่มต้นของการสังเคราะห์ อิมัลชัน ไอทีพีen_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology thanyabrui. Faculty of Science and Technology. Program Innovative Chemisrty.en_US
dc.subjectiodine transfer polymerization (ITP)en_US
dc.subjectreversible chain transfer catalyzed polymerization (RTCP)en_US
dc.subjectemulsion polymerizationen_US
dc.subjectself-assembly nucleationen_US
dc.subjectการเกิดอนุภาคแบบประกอบตัวเองen_US
dc.titleการเตรียมอนุภาคพอลิเมทาคริลิค แอซิด-บล็อก-พอลิสไตรีน ด้วยกลไกการประกอบตัวเองในกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชันen_US
dc.title.alternativePreparation of Polymethacrylic Acid-Block-Polystyrene Particles by Self-assembly Mechanism in Emulsion Polymerizationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis - SCI)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-160405.pdfPreparation of Polymethacrylic Acid-Block-Polystyrene Particles by Self-assembly Mechanism in Emulsion Polymerization8.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.