Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3738
Title: การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The development of mathematics problem - solving skills by using cooperative learning management with STAD model into KWDL techniquefor primary 3 (grade 3) students
Authors: โชติกา สิงห์ป้อง
Keywords: ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
รูปแบบ STAD
เทคนิค KWDL
mathematics problem-solving skills
cooperative learning
STAD model, KWDL technique
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และ 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหว่านบุญ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นจำนวน 2 ห้อง เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้องๆ ละ 30 คน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีปกติ และ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนมีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัด การเรียนรู้โดยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to: 1) compare primary 3 students’ mathematics problem-solving skills before and after learning by using cooperative learning management with STAD model into KWDL technique, 2) compare primary 3 students’ mathematics problem-solving skills by using cooperative learning management with STAD model into KWDL technique and normal technique. The samples were primary 3 students of Wat Wanboon school in Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1. Two classrooms were chosen by cluster random and were divided into experimental group and control group with 30 students in each group. The learning management lasted for 8 hours. The research instruments were 1) two lesson plans based on cooperative learning management with STAD model into KWDL technique and the lesson plans based on normal approach, and 2) the mathematics learning achievement test for analytical mathematics problem-solving skills. The data were analyzed by using descriptive statistics including mean scores, standard deviation, and t-test. The results indicated that 1) the students who studied by cooperative learning management with STAD model into KWDL technique had higher mathematics problem-solving skills than before studying at the statistically significant level of .05, and 2) the students who studied by cooperative learning management with STAD model into KWDL technique had higher mathematics problem-solving skills than the students who studied by normal approach at the statistically significant level of .05.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3738
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RMUTT-166648.pdfการพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 372.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.