Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฐิตาภา ทองไชย-
dc.date.accessioned2022-01-19T09:01:21Z-
dc.date.available2022-01-19T09:01:21Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3877-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการของงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการของงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งที่ปฏิบัติหน้าที่และตำแหน่งทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 กลุ่มตัวอย่างที่ได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แยกประชากรออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามคณะที่สังกัด และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร และนำกลุ่มตัวอย่างมาคำนวณเทียบัญญัติไตรยางค์ ซึ่งได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ซึ่งได้แก่ การทดสอบหาความแตกต่างค่าที (T-Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการของงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.17, S.D. =.535) ด้านที่มีความพึงพอใจมากเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (x̄ =4.42, S.D. =.562) รองลงมาคือ ด้านขั้นตอนการให้บริการ (x̄ =4.19, S.D. =.619) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (x̄ =4.06, S.D. =.685) และด้านช่องทางการให้บริการ (x̄ =4.01, S.D. =.653) 2. ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และ ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3. ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านตำแหน่งทางวิชาการ แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ข้อเสนอแนะในการวิจัย ผู้บริหารควรจัดระบบการทำงานให้เกิดความคล่องตัว ปรับลดขั้นตอนที่ยุ่งยากให้ง่ายขึ้น ขั้นตอนการให้บริการที่มีความกระชับรวดเร็วในการปฏิบัติงานสร้างกระบวนการบริการให้มีความเหมาะสม มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพิ่มช่องทางสื่อสารที่ทันสมัย เช่น Website, Line group, Line Official, Application เป็นต้นส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมและพัฒนาปรับ Mindset ด้านการเป็นผู้ให้บริการที่ดี และการให้บริการควรเป็นแบบ One stop serviceen
dc.description.abstractThis research aimed to investigate the teachers' satisfaction level toward the service of academic position assignments of the Personnel Management Division of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi and compare the teachers' satisfaction level toward the service of academic position assignments classified by personal factors including gender, education level, work experience, job position, and academic position. The research sample consisted of the 140 teachers at Rajamangala University of Technology Thanyaburi who requested to determine academic positions in the fiscal year 2018-2020. The stratified sampling technique divided the population into subgroups based on faculty and sampling accessibility. To determine the sample size in relation to the sample size and population, and to calculate and compare the rule of three. The instrument included a questionnaire. To analyze the data, the researcher conducted the statistics consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation, the inferential statistics including T-Test and One-way Anova. The results revealed that: 1. The overall teachers' satisfaction level toward the service of academic position assignments of the Personnel Management Division of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi indicated the high level (x̄= 4. 17, S.D. = . 535) . The satisfaction showed the four areas of service personnel (x̄=4.42, S.D.=.562), service process (x̄=4.19, S.D.=.619), facilities (x̄=4.06, S.D.=.685), and service channel (x̄=4.01, S.D.=.653), respectively. 2. The respondents with different factors of personal, gender, educational level, work experience, and working positions had no difference in the opinion level on the teachers' satisfaction with the service in four aspects, which was statistically significant at the .05 level. 3 . The respondents with different personal factors in terms of academic positions had different opinion levels on teachers' satisfaction with the service in four aspects, which was statistically significant at the .05 level.en
dc.description.sponsorshipได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี พ.ศ. 2564en
dc.language.isoThaien
dc.publisherมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองบริหารงานบุคคลen
dc.subjectความพึงพอใจen
dc.subjectการบริการen
dc.subjectงานกำหนดตำแหน่งทางวิชาการen
dc.subjectกองบริหารงานบุคคลen
dc.titleความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อการให้บริการของงานกำหนด ตำแหน่งทางวิชาการ กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีen
dc.title.alternativeTeachers' Satisfaction Toward the Service of Academic Position Assignments of the Personnel Management Division of the Rajamangala University of Technology Thanyaburien
dc.typeResearchen
Appears in Collections:วิจัย (Research - PD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20220119-Research-Thitapa T..pdfTeachers' Satisfaction Toward the Service of Academic Position Assignments of the Personnel Management Division of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.