Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3944
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จริยา ตรุษฎี | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-04T07:16:05Z | - |
dc.date.available | 2022-07-04T07:16:05Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3944 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จาก 136 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร และแบบสัมภาษณ์ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยมีภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 พบว่า ด้านนักเรียน นักเรียนพิเศษเรียนร่วมได้มีโอกาสเรียนร่วมกับนักเรียนปกติทั่วไปตามศักยภาพ และโรงเรียนมีการจัดให้นักเรียนพิเศษเข้าเรียนตามห้องเรียนแต่ละชั้นอย่างเหมาะสมตามระดับความสามารถ ด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อมอบหมายหน้าที่ให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีสื่อเทคโนโลยี สิ่งอานวยความสะดวก และอื่นๆ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนพิเศษเรียนร่วม โดยมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ด้านเครื่องมือ นักเรียนพิเศษเรียนร่วมได้รับสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลืออื่นๆ ทางการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของตนเอง โดยโรงเรียนส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมเพิ่มความรู้ด้านการทาสื่อทางการศึกษาพิเศษ | en |
dc.description.abstract | This research aimed to: 1) explore the inclusive education provision for children with special requirements in the primary schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office 2, and 2) find out the practical approach of inclusive education for children with special requirements in the primary schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office 2. The population in the research consisted of school administrators from 136 schools under Saraburi Primary Educational Service Area Office 2. The key informants in the interview comprised seven administrators. The instruments included five-rating-scale questionnaires and interview forms. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation for the quantitative research, and content analysis for the qualitative study. Results revealed that: 1) the overall and individual aspects of inclusive education provision for children with special requirements in elementary schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level, and 2) the practical approach of inclusive education for children with special requirements in elementary schools under the Saraburi Primary Educational Service Area Office 2 could be presented in the following aspects: for the student aspect, schools gave students with special needs an opportunity to study in regular classes with other normal students based on their potential and abilities. For the environment aspect, schools appointed and assigned a working group to prepare media, technology, facilities, and other supplies for teaching and learning activities. For the activities in teaching and learning, schools provided a variety of learning processes focusing on student-centered approach, and techniques for learning management suitable for these students through the preparation of Individualized Education Program (IEP) and Individual Implementation Plan (IIP). For the tool aspect, schools provided these students with media, facilities, and other educational assistance in line with their own unique needs by encouraging teachers to attend training courses in producing special educational media. | en |
dc.language.iso | Thai | en |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | en |
dc.subject | การจัดการเรียนร่วม, | en |
dc.subject | เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, | en |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา | en |
dc.subject | inclusive education, | en |
dc.subject | children with special requirements, | en |
dc.subject | primary schools | en |
dc.title | แนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 | en |
dc.title.alternative | The Practical Approach of Inclusive Education for Children with Special Requirements in Primary School under the Saraburi Primary Educational Service Area Office 2 | en |
dc.type | Thesis | en |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-170509.pdf | แนวทางการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 | 5.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.