Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4007
Title: | การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 |
Other Titles: | School administrators' conflict management under Pathum Thani primary educational service area office 2 |
Authors: | เศรษฐพล บัวงาม |
Keywords: | ผู้บริหารโรงเรียน การบริหารความขัดแย้ง Conflict management School administrator |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการความขัดแย้งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความขัดแย้งในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการความขัดแย้งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) แนวทางในการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ได้แก่ (1) ด้านการแข่งขัน จะใช้ในกรณีที่เป็นข้อราชการเร่งด่วน เรื่องสำคัญที่ต้องรีบตัดสินใจโดยไม่รอเวลา ซึ่งจะต้องไม่ผิดกับกฎระเบียบข้อบังคับทางราชการ (2) ด้านการประสานความร่วมมือ มีการปรับความเข้าใจกันและหาทางออกของปัญหา โดยผ่านมติของที่ประชุมเพื่อปรับความเข้าใจและความร่วมมือที่จะทางานร่วมกันต่อไป (3) ด้านการประนีประนอม ควรให้ทุกฝ่ายได้เจรจากันให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน (4) ด้านการหลีกเลี่ยง เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ส่งผลเสียต่อสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรวางตัวเป็นกลาง โดยไม่นาตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา (5) ด้านการโอนอ่อนผ่อนตาม ควรศึกษาบริบทของวัฒนธรรมองค์กรของคณะครู ถ้าคณะครูมีแนวทางปฏิบัติที่มีเหตุผลเพียงพอโดย ไม่ผิดระเบียบข้อบังคับทางราชการ ผู้บริหารก็ควรยอมให้บ้างเพื่อให้องค์กรสามารถไปต่อได้ เพื่อสร้างความสามัคคีในหน่วยงาน The purposes of this research were: 1) to investigate the school administrators' conflict management under Pathum Thani Primary Educational Service Area 2, and 2) to construct the practical approach of school administrators' conflict management under Pathum Thani Primary Educational Service Area 2. The samples used in the research were 302 teachers in the schools under Pathum Thani Primary Educational Service Area 2 in the academic year 2019 through cluster random sampling. The interview's key informants consisted of six school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area 2. The instruments for data collection were questionnaires and interview forms. The statistics consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The results of the research showed that: 1) the school administrators' conflict management under Pathum Thani Primary Educational Service Area 2 was overall at a moderate level. 2) The practical approach of school administrators' conflict management under Pathum thani Primary Educational Service Area 2 consisted of five factors: (1) the competition; conducted as the government’s urgent case that requires an immediate critical decision making without delay, which must not violate government regulations, (2) the collaboration; conducted to gain mutual understanding and find solutions to problems through the meeting's resolution to improve perception and cooperation to continue working together, (3) the compromising; all parties should negotiate with each other to understand one another, (4) the avoidance; when there was a slight conflict that does not affect the school, the administrators should be impartial and not involve themselves in the problem, and (5) the accommodating; the context of the organizational culture of the teacher group should be studied. If the teacher group has reasonable guidelines without breaking government regulations, the administrators should partly agree to allow the organization to build its unity. |
URI: | http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4007 |
Appears in Collections: | วิทยานิพนธ์ (Thesis-TECHED) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
RMUTT-170424.pdf | การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.