Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4019
Title: การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Other Titles: A Study on the Satisfaction of Service Users towards Public Utilities in the Office of the president Rajamangala University of Technology Thanyaburi
Authors: อิทธิพัทธ์ จันทร์สาคร
Keywords: ความพึงพอใจ
ผู้ใช้บริการ
ระบบสาธารณูปโภค
อาคารสำนักงานอธิการบดี
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองอาคารสถานที่.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุน บุคลากรสายวิชาการ นักศึกษา และ บุคคลภายนอกที่ใช้บริการอาคารสำนักงานอธิการบดี จำนวน 379 คน คำนวณจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่ และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยเก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับมาได้ 364 คน คิดเป็นร้อยละ 96.04 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง T-test สำหรับทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองกลุ่มตัวอย่าง One Way Anova โดยใช้สถิติการเปรียบเทียบ F-test สำหรับทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองกลุ่มขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการให้บริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับแรก รองลงมา คือ ด้านสาธารณูปโภคและด้านการจัดการขยะมูลฝอยและการบำบัดน้ำเสียอยู่ในระดับมาก และด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม อยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่มีต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ไม่แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีอายุแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใช้บริการที่มีอายุระหว่าง 26-35 ปี, 46-50 ปี และมากกว่า 50 ปี มีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดีด้านสาธารณูปโภค และด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมสูงกว่าผู้ใช้บริการที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี และผู้ใช้บริการที่มีอายุระหว่าง 26-35 ปี และ 46-50 ปีมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ด้านการให้บริการสูงกว่าผู้ใช้บริการที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นบุคลากรสายสนับสนุนและบุคคลภายนอก มีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ด้านสาธารณูปโภคสูงกว่าผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษา ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นบุคลากรสายวิชาการมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ด้านการจัดการขยะมูลฝอยและการบำบัดน้ำเสียสูงกว่าผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษา ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดี ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมและด้านการให้บริการสูงกว่าผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพเป็นนักศึกษา และผู้ใช้บริการที่มีความถี่ในการใช้บริการอาคารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจต่อระบบสาธารณูปโภคภายในอาคารสำนักงานอธิการบดีในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
The purposes of this study 1) the level of satisfaction of service users towards public utilities in the Office of the President. and 2) compare the personal status of the service users towards the public utilities system within the Office of the President. Rajamangala University of Technology Thanyaburi The sample group used in this research was support personnel. Academic personnel, students and outsiders Using the service of the President's office building, a total of 379 people were calculated by determining the sample size according to the tables of Krazy and Morgan at 95% confidence level using the Accidental Sample method, the questionnaires were collected back to 364 people, representing 96.04%. This research was a questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Difference T-test for testing the difference of mean of two samples. and variance One Way ANOVA using comparison statistics F-test comparison for testing the difference of mean of two or more samples. The findings showed 1) that level of satisfaction with the public utilities system in the President's office building Overall, it's at a high level. If considering each aspect, it was found that Service Their satisfaction was at a high level, first, followed by utilities and solid waste management and wastewater treatment. at a high level and communications and telecommunications at a high level. 2) comparative study of the personal status of service users towards public utilities in the office of the president Rajamangala University of Technology Thanyaburi found that different sexes were satisfied with the utilities system within the President’s office building.no different Users of different ages Satisfaction with the utilities system in the President’s office building was different. The service users aged between 25-26 years old, 46-50 years old and over 50 years old were satisfied with the utilities systems in the Rector’s office building for public utilities different statistically significant at the .05 level. and in the field of communication and telecommunication higher than service users under the age of 25 and service users between the ages of 26-35 and 46-50 years were satisfied with the utilities within the President's office building In terms of service, it was higher than service users under the age of 25. Users with different personal status were satisfied with the utilities systems within the President's office building. Overall different different statistically significant at the .05 level, the Service users who have the status of support personnel and outsiders Satisfaction with the utility system in the office of the president The utility aspect was higher than that of service users with student status. Service users who are academic personnel are satisfied with the utility system in the office of the president. In terms of solid waste management and wastewater treatment, it was higher than that of service users with student status. Service users who are support personnel are satisfied with the utilities system within the President's office building. In communication and telecommunication, and in service provision are higher than those of service users who have student status. and service users with different frequency of using the building services were satisfied with the utilities system within the President's office building. In overall and in each aspect no different.
URI: http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/4019
Appears in Collections:วิจัย (Research - BAD)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
20221221-Research-Itthiphat C..pdfA Study on the Satisfaction of Service Users towards Public Utilities in the Office of the president Rajamangala University of Technology Thanyaburi2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.